MarTech

Marketing

Innovation

Digital

22.12.2021

【MarTech】Marketing will change your company after COVID-19 disaster (Part-1)

Marketing will change your company after COVID-19 disaster (Part-1)

ขอต้อนรับทุกคนเข้าสู่งานอิจิเดย์ โดยในงานจะมีการอัพเดทเทรนด์เทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย และเมื่อเจอโซอี้ ก็ต้องไม่พลาดกับการอัพเดท Digital Marketing Trend ก่อนอื่นขอแนะนำตัวอย่างเป็นทางการ ภญ.โสภา พิมพ์สิริพานิชย์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตลาดออนไลน์ เป็นคนแรกของประเทศไทยที่สอบได้ LINE Certified Coach ตั้งแต่ปี 2016 และเป็นคนเดียวของประเทศไทยที่ได้รับรางวัลจากบริษัท LINE ทุกปี รวมถึงเป็นคนแรกของไทยที่ได้รับเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญ Lazada สร้างธุรกิจจากเงิน 30,000 เป็น 100 ล้าน ชื่อแบรนด์ว่า “ZOE colorfully yours” มีจำหน่ายที่ห้างชั้นนำทั่วประเทศ และต่างประเทศ ได้รับรางวัลการันตี และการยอมรับในการทำการตลาดออนไลน์มากมาย มีการสอนการทำการตลาดผ่านทางsocial media ทั้งหมดกว่า 10,000 คน มีผู้ติดตามมากกว่า 500,000 คน ได้รับเชิญไปบรรยายเรื่อง Digital Marketing ทั้งทางภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ มีหนังสือขายดีทุกเล่ม และ Facebook อเมริกาเข้ามาพูดคุยถึงเรื่องพฤติกรรมการใช้งาน Facebook ของคนไทย และยังทำโรงงานผลิตครีมของตัวเอง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็น TikTok Ambassador ผู้เชี่ยวชาญของ Lazada คนแรกของไทย และเป็น Shopee Guru ด้วย เขียนหนังสือขายดีถึง 8 เล่ม ทำรายการทีวีทางช่อง 3 5 และ 7 ในวันนี้จะมาอัพเดทเทรนด์เทคโนโลยีต่าง ๆ ให้ทุกคนได้ฟังกันค่ะ

เทรนด์อะไรที่น่าสนใจและต้องปรับตัวยังไงให้เข้ากับยุคที่เปลี่ยนไป เราทุกคนต่างก็ได้ยินคำว่า “Digital Disruption”กันมานานแล้ว แต่หลายคนก็รั้งรอไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เพราะธุรกิจยังสามารถไปต่อได้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีการสร้างช่องทางออนไลน์ขึ้นแต่ก็ไม่ได้ใช้งานเท่าที่ควร เพราะกลัวว่าหากใช้ Features ต่าง ๆ แล้วจะเสียเงินมากขึ้น แต่เมื่อเจอกับ Covid Disruption ทุกคนปรับตัวรวดเร็วมาก เพราะโควิดเป็นตัวเร่งที่เข้ามาทำให้เราเลิกรั้งรอเพื่อให้เรามีชีวิตรอด แน่นอนว่าหลายคนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป หรือมีทักษะต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น การทำอาหาร การทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น นักการตลาดจึงได้ใช้คำแสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปว่า New Normal แต่ในปัจจุบันเราต้องรู้จักNow Normal และ Next Normal ด้วยว่าอะไรจะเกิดขึ้นอีก เพราะว่าโลกและผู้บริโภคเกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก

ในทุกครั้งที่เกิดวิกฤตเราจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง 3 แบบ ดังนี้

  1. Freeze คือ การไม่ทำอะไร รอดูสถานการณ์ก่อน รอให้สถานการ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติจึงเริ่มขยับอีกครั้ง
  2. Fight คือ ต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อให้อยู่รอด เช่น การปรับตัวไปขายของจากเดิมที่ทำงานอีเว้นท์ หรือการหันมาขายของออนไลน์ เป็นต้น
  3. Focus คือ การมองหาโอกาสในวิกฤต โดยสังเกตจากพฤติกรรมหรือเทรนด์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ธุรกิจที่ทำอยู่จะสามารถอยู่รอดได้ไหมในอนาคต โดยไปยังอนาคตข้างหน้าในระยะ 5-10 ปี วางแผนและลงมือทำ

เทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นน่าสนใจมาก เป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลที่พูดถึง Lazy Consumer หรือตลาดคนขี้เกียจนั่นเอง มนุษย์เราขี้เกียจมากขึ้นเพราะมีเทคโนโลยีอยู่รอบตัว สิ่งที่ควรทำในฐานะผู้ประกอบการ คือ กลยุทธ์ที่ชื่อว่า SLOTH
S = Speed ธุรกิจของเราต้องบริการรวดเร็ว ไม่เสียเวลา
L = Lean การลด ลัด ตัด ย่อ อะไรที่เยิ่นเย้อหรือมีขั้นตอนมากให้ตัดออกทำให้ประชับมากยิ่งขึ้น
O = Enjoy สามารถส่งมอบความสนุกสนานให้กับลูกค้าได้
T = Convenient สะดวกสบาย
H = Happy ส่งมอบความสุข
ซึ่งความสุข สนุกสนาน หรือความสะดวกสบายจะต้องเกิดขึ้นกับตัวเราก่อนจึงจะส่งต่อออกไปได้ เมื่อทราบแล้วให้ลองดูธุรกิจตัวเอง แล้วหากขาดอะไรให้ลองไปเพิ่มเติมดูค่ะ

สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยหลังยุคโควิดที่ควรจะมีคือ

  1. Mindset วิธีคิดสำคัญมาก เพราะเปรียบเสมือนหูเนื่องจากติดตัวเราไปตลอดเวลาแต่เรามองไม่เห็น ซึ่งบางคนมี Fixed Mindset (ยึดติดอยู่ในกรอบ) ก็ควรปรับตัวให้มี Growth Mindset (การพัฒนาตัวอง) เมื่อเรามีวิธีคิดที่ดี วิธีทำก็จะดีตาม
  2. Skillset ทักษะต่าง ๆ สามารถฝึกฝนได้ จำนวนชั่วโมงบินทำให้สามารถพัฒนาได้
  3. Toolset การใช้เครื่องมือต่าง ๆ เนื่องจากเทคโนโลยีนั้นจะมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่เราต้องเรียนรู้วิธีการใช้

การนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ในบริษัทอาจเกิดการต่อต้านจากพนักงาน เนื่องจากหลายคนคุ้นชินกับกิจวัตรและวิธีการทำงานแบบเดิม ๆ แล้ว จึงไม่ต้องการเปลี่ยนหรือเรียนรู้ใหม่ ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นจะช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น แต่ในช่วงแรกจะต้องปรับตัวเยอะมาก ทำให้เกิดการต่อต้าน อยากจะบอกว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น AI ไม่ใช่ศัตรูแต่เป็นเพื่อนที่จะช่วยเราผ่อนแรงในการทำงาน เราจึงต้องเรียนรู้การอยู่ร่วมกับเทคโนโลยี วันก่อนเพิ่งจะให้สัมภาษณ์ไปเรื่องปัญหาที่จะเกิดขึ้นของโลกเทคโนโลยีคืออะไร คำตอบคือความเหลื่อมล้ำทางสังคมจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน สังคมจะถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มอย่างชัดเจนโดยที่ไม่มีคนชั้นกลาง ซึ่งกลุ่มหนึ่งคือผู้ที่สามารถใช้เครื่องมือและทันเทคโนโลยี กับอีกกลุ่มคือผู้ที่ต่อต้านเทคโนโลยี ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

เครื่องมือที่น่าสนใจในการทำงานแบบ WFH ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานของเราได้ มีดังนี้

  1. เครื่องมือที่ช่วยวางแผนงาน โดยส่วนตัวใช้ของ Trello ซึ่งใช้มาประมาณ 10 ปีแล้ว
  2. การแชร์ข้อมูล เช่น google drive, dropbox, one drive เหล่านี้ คือ แหล่งรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการแชร์ไฟล์งานต่าง ๆ
  3. การประชุมออนไลน์ ปัจจุบันทุกคนใช้ Zoom กันได้อย่างคล่องแคล่ว แต่ยังมีอีกหลายระบบที่สามารถใช้งานได้เช่นกัน คือ Slack, Microsoft Team, Google meet
  4. การวางไอเดีย เราอาจจะวางไอเดียกันใน Line, Facebook, Workplace
  5. การส่งเอกสาร เช่น ไลน์แมน หรือการขนส่งอื่นๆ
  6. การแชร์หน้าจอ
    ในปัจจุบันสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีเกิดขึ้นมากมายทำให้เรามีตัวช่วยเพิ่มมากขึ้น ลองเลือกสิ่งที่เหมาะมาใช้กับเราดู

ต่อมาเป็นเรื่องเทรนด์ดาต้า จากสถิติของ VRSocial ที่เก็บข้อมูลจากทั่วโลกในทุก ๆ ต้นปีในเรื่องของสถิติออนไลน์ต่าง ๆ

  1. ค่าเฉลี่ยอายุของประชากรในประเทศไทยอยู่ที่ 40 ปี ซึ่งประชากรโลกจะอยู่ที่ 31 ปี ซึ่งสามารถนำมาใช้งานในด้านธุรกิจได้ในเรื่องของกลุ่มลูกค้า
  2. ค่า GDP ต่อหัวอยู่ที่ 19,277 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งค่าเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ 17,000 กว่าๆ
  3. การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 69.5% สูงกว่าประชากรโลกที่อยู่ที่ 59.5%
  4. เวลาที่ใช้ในการเล่นอินเทอร์เน็ตต่อวัน คือ 8 ชั่วโมง 44 นาที ค่าเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ 6 ชั่วโมง 54 นาที
  5. ความเร็วของอินเทอร์เน็ตบ้าน ประเทศไทยครองอันดับ 1 ที่ 300MB
  6. การใช้ตัวบล็อกโฆษณา 40% เทียบกับทั่วโลกอยู่ที่ 42%
  7. การใช้ social media คนไทย 78.7% โลก 53%
  8. เวลาเล่น social media เฉลี่ยของคนไทยคือ 2 ชั่วโมง 48 นาที
  9. แพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมทั่วโลก คือ Facebook、YouTube、WhatsApp、Facebook Messenger 、Instagram ตามลำดับ ในส่วนของคนไทยจะใช้ Facebook、YouTube、LINE、Facebook Messenger、Instagram、Twitter และ TikTok ตามลำดับ ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่ Youtube ได้รับความนิยมมากกว่า Facebook
  10. กิจกรรมคอนเทนต์ออนไลน์ที่น่าจับตามอง คือ 90% ดูวิดีโอ 51% สตรีมมิ่งเพลง ต่อไปดู Vlog ฟังวิทยุ และฟังพอดแคสต์
  11. กลุ่มธุรกิจที่เติบโตใน e-Commerce เป็นอย่างมาก คือ อาหารและของใช้ส่วนตัว ของเล่นเด็ก เสื้อผ้าแฟชั่น และของความสวยความงาม เฟอร์นิเจอร์ของแต่งบ้าน แต่ที่ติดลบหนักเลยคือด้านท่องเที่ยว

ผู้สนใจสามารถเข้าชม VDO บรรยายตัวเต็มจากคุณจิตติพงศ์ได้ใน Community Zone ของงาน ICHI หรือ คลิกที่นี่ เพื่อเข้าสู่ Community Zone ทันที

SHOW CASE

RELATED ARTICLES

RECOMMEND