SaaS/Cloud Services

Digital

Software for Business

20.02.2024

“i-Reporter” เครื่องมือรายงานผลหน้าไซต์งานของ CIMTOPS ที่ช่วยแก้ปัญหากำแพงทางภาษาของ “การบริหารงาน และ การจัดการหน้าไซต์งาน” คืออะไร?

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีบริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากเข้ามาตั้งฐานการผลิต ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตและการก่อสร้างกำลังเผชิญปัญหาต่าง ๆ เช่น ต้นทุนแรงงานและต้นทุนวัสดุที่สูงขึ้น รวมถึงการขาดแคลนแรงงาน จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัลในหน้าไซต์งาน และโซลูชั่นการแก้ปัญหาที่แปลงแบบฟอร์มที่ใช้เป็นกระดาษให้เป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่คาดว่าจะมีบทบาทสำคัญก็คือ “i-Reporter (ไอ-รีพอร์ตเตอร์)” ซึ่ง i-Reporter (ไอ-รีพอร์ตเตอร์) ได้รับรางวัล “ITreview Grid Award 2024 Winter” ใน 9 สาขา จาก “ITreview” ซึ่งเป็นหนึ่งในเว็บไซต์ที่วิจารณ์สินค้าไอทีและการให้บริการด้านซอฟต์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น เราได้พูดคุยกับคุณโออิเดะ จาก CIMTOPS Corporation เกี่ยวกับการใช้ i-Reporter (ไอ-รีพอร์ตเตอร์) ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในประเทศไทย

บริษัทมากกว่า 3,600 แห่ง และยอดผู้ใช้งานกว่า 165,000 ราย ที่ใช้งานเครื่องมือแก้ปัญหาสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตและการก่อสร้าง

– ช่วยบอกถึงภาพรวมธุรกิจของบริษัทคุณ

บริษัทของเราเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ก่อตั้งในปี 1991 ในช่วง 20 ปีแรก เราได้พัฒนาและจำหน่าย “DIRECTOR (ไดเรกเตอร์)” ซึ่งเป็นระบบการควบคุมหรือการจัดการลำดับความสำคัญสำหรับไซต์การผลิต เราได้เน้นการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานใน “หน้าไซต์งาน” และด้วยแนวคิดที่ว่าเราจะนำเสนอสินค้าและบริการที่จะสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า เราจึงได้คอยสนับสนุนอย่างใกล้ชิดตั้งแต่การนำเข้า

จากประสบการณ์ที่เราได้รับจากหน้าไซต์งานการผลิต ในปี 2012 เราได้เปิดตัว “i-Reporter” ซึ่งเป็นโซลูชั่นการแปลงแบบฟอร์มที่ใช้เป็นกระดาษให้เป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันมีการใช้งานโดยบริษัทมากกว่า 3,600 แห่ง และผู้ใช้งานกว่า 165,000 ราย อีกทั้ง เรายังขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งมีบริษัท 300 แห่ง และผู้ใช้ 8,200 รายในต่างประเทศ และได้เปิดตัวในบริษัทประเทศจีนแล้ว 90 แห่ง และบริษัทในประเทศไทย 60 แห่ง

– อะไรคือแรงจูงใจให้ขยายธุรกิจเข้ามาในประเทศไทย

เริ่มจากการที่มีลูกค้าที่ใช้งาน i-Reporter ในประเทศญี่ปุ่น เรียกร้องเข้ามาว่าอยากให้มีฐานการผลิตที่ประเทศไทยและมีการบริหารจัดการแบบเดียวกันด้วย ซึ่งจำนวนลูกค้าที่เรียกร้องเรื่องดังกล่าวเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เราจึงต้องการพันธมิตรที่จะช่วยสนับสนุนด้านการขายและด้านเทคนิคในประเทศไทย ดังนั้น เราจึงได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อขยายธุรกิจของเรา และด้วยเหตุนี้ เราจึงเริ่มต้นด้วยการแนะนำ i-Reporter ให้กับพันธมิตรที่สามารถสนับสนุนการขาย และสนับสนุนด้านเทคนิคในท้องถิ่นเป็นภาษาไทย ทั้งยังพบปะและร่วมมือกับพันธมิตรรายใหญ่หลายรายอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายธุรกิจในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจเนื่องมีบริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ ได้ขยายธุรกิจเข้ามาในประเทศไทย ประเทศที่อยู่ในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นอกเหนือจากประเทศไทยก็เป็นทางเลือกเช่นกัน แต่ประเทศไทยมีแนวโน้มใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาปรับปรุงไซต์งานการผลิต  อย่างไรก็ตาม ยังคงมีบางปัญหาที่รู้สึกว่าต้องแก้ไขด้วยแนวคิด DX ที่ช่วยส่งเสริมการขยายตัวของบริษัท เช่น ต้นทุนแรงงานและวัสดุที่สูงขึ้น การขาดแคลนแรงงาน การลดต้นทุน ฯลฯ

นอกจากนี้ สมาร์ทโฟนเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย สามารถเรียกได้เลยว่าผู้คนทั้งประเทศเป็นชาวดิจิทัล แต่เพราะว่ามีการผลิตโทรศัพท์มือถือรุ่นธรรมดาและข้ามมาเป็นสมาร์ทโฟนเลย จึงไม่มีผู้ที่ยังใช้โทรศัพท์มือถือแบบฝาพับเหมือนในประเทศญี่ปุ่น แม้ว่าจะเปิดตัว i-Reporter ที่ใช้งานบนแท็บเล็ตแทนกระดาษ ผู้คนก็ให้การตอบรับอย่างง่ายดายในการใช้งาน

บรรลุการทำงานที่ราบรื่นด้วย “แอปเนทีฟ (Native App) ”ที่สามารถใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมออฟไลน์

– i-Reporter ถือเป็นสินค้าประเภทใด

เป็นแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบันทึกและรายงานการปฏิบัติงานหน้าไซต์งาน มีบุคคลหลากหลายรูปแบบที่จะสามารถเป็นกลุ่มเป้าหมายสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล เช่น พนักงานออฟฟิศและเจ้าหน้าที่หน้าไซต์งาน เป็นต้น ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของเราจะเป็นเจ้าหน้าที่หน้าไซต์งานฝ่ายผลิตและก่อสร้าง และเราให้ความสำคัญกับเครื่องมือบันทึกแบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเจ้าหน้าที่ “หน้าไซต์งาน” แทนที่จะใช้กระดาษเพียงอย่างเดียว

มีเครื่องมือบันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ แต่ “แอปเนทีฟ (Native App)” จะมีความแตกต่างจากเครื่องมือเหล่านี้ เช่น Google Forms ที่ใคร ๆ ก็สามารถสร้างแบบฟอร์มป้อนข้อมูลที่มีข้อความแบบเดียวกันได้อย่างง่ายดาย และผู้ปฏิบัติงานหน้าไซต์งานสามารถป้อนข้อมูลโดยใช้สมาร์ทโฟนของตนได้ แต่โดยทั่วไปต้องเปิดบนเว็บเบราว์เซอร์ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ดี เนื่องจากเมื่อมีการป้อนข้อมูลบางอย่าง ข้อมูลจะสื่อสารและทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ และข้อมูลอาจไม่ทำงานตามที่คาดหวังได้

ในทางกลับกัน i-Reporter ให้ความสำคัญกับแอปเนทีฟ (Native App) โดยเฉพาะ สามารถใช้งานบน iPad หรือแท็บเล็ต Windows ได้โดยไม่ต้องมีสัญญาณอินเทอร์เน็ต จึงสามารถป้อนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งวิธีนี้จะช่วยป้องกันสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การค้างเป็นเวลา 10 วินาที เนื่องจากความขัดข้องของอินเทอร์เน็ตหน้าไซต์งาน เป็นต้น

นอกจากนี้ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ไม่ต้องเขียนโค้ด จึงเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้งานได้ง่ายและสามารถใช้งานได้จริงในหน้าไซต์งาน โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้จัดการหน้าไซต์งานและช่วยลดภาระให้กับแผนกไอทีได้อีกด้วย

ปัญหาการบริหารงานในไทยซึ่งมีที่มาจากกำแพงภาษา ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ไม่ได้・ไม่จำเป็น・ไม่ราบรื่น ในขณะปฏิบัติหน้าที่

– การจัดการรายงานหน้าไซต์งานในประเทศไทยมีปัญหาอย่างไรบ้าง

เมื่อพิจารณาจากความเป็นจริงที่ว่า “ภาษาหลักของประเทศไทยคือภาษาไทย” การสื่อสารระหว่างพนักงานชาวญี่ปุ่นและพนักงานชาวไทยในบริษัทญี่ปุ่นนั้น ถือเป็นเรื่องที่ยากกว่าที่คาดได้ ด้วยลักษณะนิสัยของคนไทยที่เป็นคนอ่อนโยนจึงแทบจะไม่มีปัญหาทะเลาะกันรุนแรงเลย แต่ในด้านของผลลัพธ์แล้วนั้น อาจเพราะไม่สามารถสื่อสารคำสั่งได้อย่างถูกต้องและไม่เข้าใจถึงความคิดของพนักงานชาวไทย จึงทำให้มีอัตราการลาออกที่สูงขึ้น เกิดสภาพแวดล้อมที่พนักงานมักเปลี่ยนงานเป็นเรื่องปกติ

หลายบริษัทล้วนต่างมีปัญหากับการสื่อสารผิดพลาดอันเกิดจาก “การจัดการและหน้าไซต์งาน” จึงทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ไม่ได้・ไม่จำเป็น・ไม่ราบรื่น ในขณะปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้ง คนที่สามารถรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหน้าไซต์งานได้ดีที่สุดก็คือ สมาชิกที่อยู่ ณ จุดนั้น แต่เกิดเหตุการณ์ที่สมาชิกดังกล่าวไม่สามารถรายงานข้อมูลไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องตามลำดับการบริหารได้อย่างทันที

– สาเหตุของปัญหาเหล่านี้มาจากไหน?

สาเหตุหลักคือ การบันทึกผลการทำงานหรือการตรวจสอบคุณภาพลงใน “กระดาษ” แม้ว่าจะมีการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งงานด้วยระบบหรือ Excel ท้ายที่สุดแล้ว ก็ยังต้องใช้กระดาษอยู่ดีเมื่อปฏิบัติงานที่หน้าไซต์งาน จากนั้นก็จะปฏิบัติงานโดยการจดลงบนกระดาษ และนำมาให้ผู้ดูแลทำการบันทึกลงในระบบหรือ Excel ต่อไป

หลังจากที่ปฎิบัติงานเสร็จสิ้นแล้ว ต้องนำข้อมูลที่จดลงกระดาษมาป้อนลงคอมพิวเตอร์ทีละแผ่น ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดคลาดเคลื่อนของเวลากับหน้าไซต์งานแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหากับทางผู้ดูแล คือ ปัญหาความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่น ตัวอักษรเลือนลางไม่สามารถอ่านได้หรือไม่เข้าใจภาษาไทย เป็นต้น

หากใช้ i-Reporter จะสามารถแสดงผลข้อมูลหน้าไซต์งานได้ทันที และทำให้ได้รับข้อมูลอย่างทันท่วงที นอกจากนี้ เนื่องจากสามารถเขียนข้อความได้อย่างอิสระอาจทำให้เกิดความไม่แม่นยำ ดังนั้น การตั้งค่าระบบ เช่น “หลายตัวเลือก” หรือ “กรอกเพียงตัวเลข” จะทำให้สามารถจัดการข้อมูลได้แม่นยำมากขึ้น

นอกจากนี้ ในฟังก์ชันที่ช่วยในการกรอกข้อมูล สามารถแทรกรูปภาพที่ถ่ายจากกล้องได้ สามารถตรวจสอบว่าปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องหรือไม่ และยังมีส่วนช่วยในการป้องกันการทุจริตอีกด้วย การกรอกข้อมูลเพื่อนำไปเป็นหลักฐานการปฏิบัติงานตามหนังสือคำสั่งนั้นยังช่วยในการรับประกันด้านคุณภาพอีกด้วย

ทางด้านหน้าไซต์งาน หากใช้ i-Reporter จะสามารถกรอกข้อมูลและส่งผ่านเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างรวดเร็ว การรายงานผลนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ทางด้านการจัดการนั้นก็สามารถดูข้อมูลได้จากระยะไกล สามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้ อย่างเช่น สามารถตรวจสอบและดำเนินขั้นตอนถัดไปได้ แสดงความคืบหน้าโดยเชื่อมต่อกับระบบ BI หรือจะเป็นการกรอกข้อมูลผลงานอัตโนมัติเชื่อมต่อกับ ERP เป็นต้น

ทั้งด้านหน้าไซต์งานและด้านการจัดการนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังมีลูกค้าจำนวนมากที่นำมาใช้ในการปรับปรุงหรือใช้ในด้านการขยายผลการพัฒนา

ในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับว่า “หากพูดถึงเครื่องมือการจดบันทึกหน้าไซต์งานก็จะนึกถึง i-Reporter”

– ช่วยพูดถึงแนวโน้มในอนาคตของคุณ

บางบริษัทในประเทศไทมีแผนกไอทีที่ทำงานได้ไม่ดีนัก แต่ i-Reporter เป็นเครื่องมือ IT ที่ลูกค้าสามารถพัฒนาและดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องเขียนโค้ด อย่างไรก็ตาม การมีพันธมิตรท้องถิ่นที่สามารถให้การสนับสนุนด้านเทคนิคนั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญในการเชื่อมโยงระบบอื่นๆ และการปรับปรุงหน้าไซต์งานโดยรวมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เราต้องการที่จะมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบร่วมกับพันธมิตรท้องถิ่นที่สามารถติดตามลูกค้าไปจนถึงจุดที่พวกเขาสามารถใช้ระบบต่อไปได้โดยยังคงมีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ ปัจจุบันลูกค้าของเราในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นบริษัทญี่ปุ่น แต่เราอยากเห็นบริษัทอื่น ๆ เช่น บริษัทท้องถิ่นในประเทศไทยและบริษัทอื่นที่ไม่ใช่บริษัทญี่ปุ่นหันมาใช้บริการของเรา เป้าหมายของเราคือเพื่อให้ i-Reporter ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือการจดบันทึกหน้าไซต์งาน ด้วยเหตุนี้เอง เราจะก้าวไปข้างหน้าโดยคำนึงถึงสิ่งที่ตลาดประเทศไทยต้องการและเราจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร

 

RECOMMEND