SaaS/Cloud Services

Startups

Digital

Design and Production

Design and Manufacturing Solutions

Software for Business

Order and supply

21.02.2024

CADDi กำลังเผชิญกับความท้าทายในการปฏิรูปธุรกิจในการจัดซื้อและการควบคุมการใช้งานข้อมูลแบบแปลนในอุตสาหกรรมการผลิตของไทย

อุตสาหกรรมการผลิตสัญชาติญี่ปุ่นได้เข้าสู่ตลาดไทยมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว องค์ความรู้ ความชำนาญที่สั่งสมกันมาจนกระทั่งสามารถผลิตสินค้าที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพระดับสูง ทว่ายิ่งมีประวัติยาวนาน ปัญหาเฉพาะตัวของหน้างานไลน์การผลิตไทยก็ตามมา CADDi กำลังเผชิญกับความท้าทายในการแก้ไขปัญหานี้ เราได้พูดคุยกับคุณทาเคอิ ซึ่งประจำอยู่ในประเทศไทยเกี่ยวกับแนวคิดริเริ่มที่พวกเขากำลังจะดำเนินการ

การแปลงการจัดซื้อในกระบวนการผลิตสู่ DX และการแปลงข้อมูลแบบแปลนสู่สินทรัพย์

– กรุณาอธิบายเกี่ยวกับเค้าโครงธุรกิจของบริษัทฯ

CADDi ชูวิสัยทัศน์ “ปลดปล่อยศักยภาพของอุตสาหกรรมการผลิต” ขยายตลาดด้วย 2 โซลูชันหลักที่มีคือ
“CADDi MANUFACTURING”และ“CADDi DRAWER”

เริ่มจาก “CADDi MANUFACTURING” คือบริการที่ช่วยผลักดัน DX ในการดำเนินการจัดซื้อ ซึ่งปราศจากนวัตกรรมใดๆ
ที่เกิดขึ้นใหม่ในกระบวนการผลิตมานานกว่า 100 ปี ตัวอย่างเช่น ในกรณีของบริษัทที่ต้องใช้ชิ้นส่วนหลากหลายชนิดแต่ใช้ในจำนวนเล็กน้อย จะให้เจ้าหน้าที่จัดซื้อควบคุมและปรับห่วงโซ่อุปทาน(Supply chain)ให้ภาพรวมมีประสิทธิภาพสูงสุด(Optimization)คงจะเป็นเรื่องยาก เนื่องจากจำนวนพันธมิตรทางธุรกิจ เช่น โรงงานขนาดเล็กที่กลายเป็นซัพพลายเออร์ปลายน้ำเพิ่มขึ้น ดังนั้นการเข้าใจจุดแข็งและเงื่อนไขของแต่ละบริษัทอย่างถ่องแท้จึงเป็นเรื่องยากขึ้น เราดำเนินการและปรับปรุงกระบวนการนี้ให้เป็นแบบอัตโนมัติเพื่อปรับปรุงคุณภาพและต้นทุนในห่วงโซ่อุปทาน

– ซัพพลายเออร์จะได้รับประโยชน์ด้วยหรือไม่

ข้อดีคือเราสามารถดำเนินการพัฒนาธุรกิจใหม่ในนามของคุณได้ หากยอดขายขึ้นอยู่กับลูกค้ารายเดิมเฉพาะเจาะจงเมื่ออุปสงค์ผันผวนยอดขายก็จะได้รับผลกระทบอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เจ้าของธุรกิจที่มีงานยุ่งและมีปัญหาในแบ่งเวลามาบุกเบิกธุรกิจใหม่ ๆ เราจึงให้การสนับสนุนผ่านบริการนี้

นอกจากนี้เรายังสามารถให้การสนับสนุนในการสร้างห่วงโซ่อุปทานในต่างประเทศได้แบบติดตามไปพร้อมกันได้อีกด้วยโดยเฉพาะสำหรับพนักงานในพื้นที่ที่ไม่เข้าใจภาษาญี่ปุ่น เราสามารถอ่านเนื้อหาของเอกสารมาตรฐานคุณภาพและปรับให้เข้ากับภาษาท้องถิ่นได้ ทำให้สามารถเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพในต่างประเทศได้ นอกจากนี้เรายังมุ่งหวังที่จะปรับปรุงความซับซ้อนและเพิ่มมูลค่าของการดำเนินการด้านการจัดการโดยการนำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้

– กรุณาช่วยอธิบายเกี่ยวกับโซลูชันที่ 2

“CADDi DRAWER” คือ บริการสนับสนุนการควบคุมและใช้งานข้อมูลแบบแปลน
ในกรณีที่แปลงข้อมูลแบบแปลนให้เป็นสินทรัพย์ไม่ได้จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย อย่างเช่น การควบคุมการจัดการกลายเป็นไซโล (Silo) แยกตามแต่ละแผนก จึงต้องใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูล และเนื่องจากข้อมูลแบบแปลนไม่ถูกแชร์ร่วมกัน ทำให้แบบแปลนที่แต่เดิมนำมาประยุกต์ใช้ในทางอื่นได้ถูกนำมาเขียนขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองชั่วโมงการทำงานโดยเปล่าประโยชน์ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่แต่อย่างใดหากจะทำเช่นนั้น หากเจ้าหน้าที่จัดซื้อแบ่งหน้าที่กัน ราคาของแต่ละชิ้นส่วนก็จะต่างกันไป ซึ่งอาจนำไปสู่ความผันผวนใน QCD

ในทางตรงกันข้าม CADDi DRAWER ไม่เพียงแต่มีฟังก์ชันการจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น แต่ยังใช้ AI เพื่อผสานรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ขนาดโดยละเอียด วัสดุ และรูปร่างสำหรับแต่ละแบบแปลน โดยผลลัพธ์ดังกล่าวจะส่งเสริมให้การประสานงานระหว่างส่วนงานหรือแบบแปลนนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น ฝ่ายออกแบบของ Suzuki ได้นำ CADDi DRAWER เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาแบบในอดีตหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และชิ้นส่วนที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้ เมื่อนำแบบแปลนนับหลายแสนชุดมาบันทึกลงในระบบ และสามารถค้นหาผ่านคีย์เวิร์ด รหัสสินค้าหรือรูปภาพได้ เราได้ปรับปรุงความเร็วในการค้นหาและลดชั่วโมงการทำงานลง
โดยการนำชิ้นส่วนคล้ายคลึงกันมาประยุกต์ใช้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งคาดว่าจะช่วยในการปรับทรัพยากรที่จำเป็นต่อการออกแบบให้
มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น และสามารถเพิ่มประสิทธิผลได้

ขยายสู่ประเทศไทยเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้ซัพพลายเออร์ญี่ปุ่น

– ทำไมจึงขยายตลาดมาที่ไทย

แรกเริ่ม มีการตัดสินใจจะขยายสู่ต่างประเทศด้วย CADDi MANUFACTURING โดยมีเหตุผลหลักคือ โรงงานขนาดเล็กที่ญี่ปุ่นในปัจจุบันพบว่ายากที่จะลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตด้วยเหตุที่ว่าขาดแคลนแรงงานและเข้าสู่สังคมสูงวัย ดังนั้นเพื่อจะเสริมความแข็งแกร่งให้กับฝั่งซัพพลายเออร์เราจึงตัดสินใจขยายตลาดเข้าสู่เวียดนามและไทย

ทั้งสองประเทศมีบางสิ่งบางอย่างที่เหมือนกัน หนึ่งในนั้นคือมีผู้ผลิตที่มีสัญชาติญี่ปุ่นเข้ามาขยายตลาดอยู่ที่นั่นแล้ว ส่งผลให้มีผู้ที่มีความรู้และเข้าใจด้านคุณภาพการผลิตสินค้าของญี่ปุ่นอยู่มากมาย และช่วงอายุของคนทำงานเป็นกลุ่มคนที่มีอายุไม่มาก อีกทั้งยังมีพลังในการเติบโต จึงได้สร้างฐานการผลิตที่สามารถลดต้นทุนให้ถูกกว่า โดยยังคงคุณภาพเทียบเท่ากับที่มีในประเทศญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์การผลิตสินค้าของญี่ปุ่นในเวียดนามและไทยนั้นแตกต่างกัน เวียดนามอาจไม่สามารถจัดการชิ้นส่วนและการประกอบที่ซับซ้อนซึ่งต้องใช้ความรู้ด้านการออกแบบเฉพาะทางได้ดีนัก แต่ประเทศไทยนั้นมีทั้งความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์มากมายที่ได้รับการบ่มเพาะมาเป็นเวลา 40 ถึง 50 ปี นับตั้งแต่บริษัทญี่ปุ่นเข้ามาในประเทศ คือ ด้วยเหตุนี้จึงแบ่งกันว่าผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนฐานการผลิตจะอยู่ในประเทศไทย และผลิตภัณฑ์ที่เรียบง่ายฐานการผลิตจะอยู่ในเวียดนาม

การปรับอุตสาหกรรมการผลิตของไทยที่ยากต่อการปฏิรูปด้วยการปรับปรุงห่วงโซ่อุปทานหรือสภาพแวดล้อมในการพัฒนาบุคลากรให้ดียิ่งขึ้น

– สถานที่ผลิตสินค้าในประเทศไทยมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง

มีอยู่ 3 หัวข้อใหญ่ ประการแรก เนื่องด้วยความที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน การบริหารจัดการโรงงานจึงยังมีส่วนที่เป็น
การทำงานแบบเก่า ๆ หากปล่อยไว้แบบนี้ การทำงานอาจไม่สามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของฝั่งอุปสงค์ได้

ประการที่สอง เมื่อมองในแง่โครงสร้างเชิงองค์กรแล้ว การปฏิรูปนั้นทำได้ยาก เวลาประจำการที่มีจำกัดของเจ้าหน้าที่ประจำการในท้องถิ่น ต่อให้คิดอยากจะปฏิรูปการทำงาน ก็มีข้อจำกัดทั้งเวลาและต้นทุน

ประการสุดท้าย การสืบทอดความรู้ความชำนาญเป็นเรื่องที่ยาก ระบบที่เจ้าหน้าที่ประจำการหรือคนทำงาน เพียงไม่กี่ปี
ก็ผลัดเปลี่ยนกันไปมานั้น ไม่สามารถส่งช่วงต่อความรู้ความชำนาญที่บ่มเพาะจากหน้างานมาสู่คนรุ่นใหม่ได้

– โซลูชันของบริษัทฯช่วยในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร

มากที่สุดคือการเพิ่มมูลค่าการทำงานของคนทำงานให้สูงขึ้นผ่าน CADDi DRAWER หากมีกลไกของ CADDi DRAWER จะสามารถเรียนรู้ทักษะความชำนาญของญี่ปุ่นหรือคนทำงานอื่น ๆได้อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่แค่จะได้รับมอบหมายแต่งานด้านการผลิตเท่านั้น แต่จะได้รับงานออกแบบหรืองานประกอบซึ่งเป็นงานที่มีมูลค่าเพิ่มสูงด้วย เมื่อเป็นเช่นนั้นแม้จะไม่มีช่องทางติดต่อฝ่ายขายที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ก็สามารถรับคำสั่งซื้อไปจนถึงขั้นตอนออกแบบและการทำข้อเสนอในประเทศไทยได้ อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการอบรมพัฒนาบุคลากรและสามารถช่วยให้การดำเนินการรวดเร็วขึ้นอีกด้วย

ในการนำ CADDi DRAWER เข้ามาใช้งาน นอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายที่รับผิดชอบแล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่ให้บริการแก่ลูกค้าซึ่งช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จ(Customer success) ในการนำระบบเข้ามาใช้งานและช่วยเหลือลูกค้าอย่างใกล้ชิดอีกด้วย มีการระบุปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการสัมภาษณ์กับผู้บริหารและผู้รับผิดชอบหน้างาน และสามารถให้คำปรึกษาและเสนอวิธีในการเพิ่มประสิทธิภาพในการนำมาใช้งานเพื่อแก้ไขปัญหาที่ระบบถูกนำมาใช้งานแต่ไม่ได้ถูกใช้ในสถานที่ทำงาน ดังนั้นเราจึงมีการช่วยเหลือสนับสนุนการนำระบบมาใช้งานที่หน้างานอย่างแพร่หลาย

นอกจากนี้ สำหรับบริษัทที่รับคำสั่งซื้อได้จากบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นเพียงเท่านั้น CADDi MANUFACTURING จะช่วยเหลือแบบตามติดไปพร้อมกันให้สามารถมุ่งเป้าสู่การรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เช่น อเมริกา เป็นต้น เป็นการส่งเสริมผลักดันให้สร้างห่วงโซ่อุปทานใหม่ๆขึ้น

บริษัทเรามีเจ้าหน้าที่ซึ่งเคยรับผิดชอบด้านคุณภาพที่ Honda group หรือ Isuzu motors ประจำการอยู่ จึงสามารถผลักดันโครงการไปด้วยกันกับเจ้าหน้าที่ซึ่งรู้สายงานการผลิตสินค้าตั้งแต่ต้นยันจบเป็นอย่างดี เริ่มต้นจากการตรวจสอบโรงงาน
เข้าแก้ไขปรับปรุง โหลดข้อมูลด้านมาตรฐานคุณภาพ ตรวจขั้นตอนสุดท้ายก่อนส่งสินค้าออก ฯลฯ ก็ช่วยสนับสนุนเช่นกัน

ให้โลกรู้ว่า “อุตสาหกรรมการผลิตของไทยนั้นแข็งแกร่ง”

– กรุณาอธิบายเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ในอนาคต

ยังคงมุ่งสู่วิสัยทัศน์ที่ว่า “ปลดปล่อยศักยภาพของอุตสาหกรรมการผลิต” กันต่อไป ซึ่งในการทำให้เกิดขึ้นจริงได้นั้น
การมอบคุณค่าที่บริษัทเรามีแก่ลูกค้าอย่างมั่นคงแน่นอนนั้นคือสิ่งสำคัญ

มีหลาย ๆบริษัทคิดว่า “ปล่อยไว้แบบนี้ไม่ดีแน่” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตในญี่ปุ่น ซึ่งคิดว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่ค่อยเป็นไปด้วยดีเท่าที่ควร แต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากรู้สึกถึงวิกฤต ซึ่งมันการเปลี่ยนแปลนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จเผยให้เห็นเป็นตัวอย่างมากมาย การดูตัวอย่างต่าง ๆ มากมายและการมองสิ่งต่าง ๆ ในเชิงบวก การเปลี่ยนแปลงจะได้รับแรงผลักดันให้เกิดการการปฏิรูป ภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ เราจะยังคงมีส่วนร่วมในการทำให้โลกตระหนักว่า
“อุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทยมีความแข็งแกร่ง”

 

RECOMMEND