Software for Business

Others

11.06.2021

Digital Economy in the future of Thailand

“Digital Economy in the future of Thailand”

“JRIT ICHI” โปรเจกต์ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญเป็นการ “กระตุ้น Digital Transformation ของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนด้วย IT Solution จากญี่ปุ่น” ได้ฤกษ์เปิดตัวแล้วเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา
“The Marketplace to create your success with Japan IT Solutions” คือ สโลแกนของ JRIT ICHI ซึ่งตั้งเป้าสู่การเป็นสื่อออนไลน์ เพื่อนำเสนอบทความอันเปี่ยมด้วยเนื้อหาสาระใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับ Digital Transformation สำหรับผู้ประกอบการในประเทศไทย ที่กำลังวางแผนปรับเปลี่ยนการทำงานสู่ระบบดิจิทัล รวมถึงเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาค้นหาแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กร และสอบถามข้อมูลต่าง ๆ ได้จากทุกที่ทุกเวลา
เนื่องในโอกาสเปิดตัว JRIT ICHI ทางทีมงานได้จัดกิจกรรม “JRIT ICHI Opening Event 2021” ขึ้นในวันที่ 19 พฤษภาคม โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 200 คน ซึ่งนั่นเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบัน Digital Transformation กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นในประเทศไทย
ภายในกิจกรรม JRIT ICHI Opening Event 2021 แบ่งหัวข้อการสัมนนาออกเป็น 3 หัวข้อต่อไปนี้

อันดับแรกสุด เราขอสรุปย่อเนื้อหาจากการสัมมนาในหัวข้อ “Digital economy in the future of Thailand“ ซึ่งทางเราได้รับเกียรติจาก ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Advisor to the Permanent Secretary of the Ministry of Digital Economy and Society) มาร่วมบรรยาย ดังนี้

“Digital economy in the future of Thailand” Dr. Manoo Ordeedolchest Advisor to the Permanent Secretary of the Ministry of Digital Economy and Society

โควิด-19 กลายเป็นปัจจัยส่งผลให้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในสังคมอย่างมาก ตัวอย่างเช่น การใช้แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ซึ่งสามารถใช้จองและติดตามการฉีดวัคซีน หรือแม้แต่การใช้แอปพลิเคชันสั่งซื้อสินค้าและเลือกรับบริการจัดสั่งถึงที่เองก็มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนั่นหมายความว่า การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลเริ่มส่งอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้คน รวมถึงเศรษฐกิจ
รัฐบาลไทยเองก็เริ่มเล็งเห็นถึงความสำคัญของการผลักดันนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่เรียกว่าเศรษฐกิจดิจิทัลหรือสังคมดิจิทัล ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพื่อพัฒนาชาติ ในยุคนโยบายประเทศไทย 4.0 เราจะไม่มุ่งเน้นแค่การเพิ่มคุณค่า แต่จะมองลึกลงไปถึงความสำคัญของการสร้างคุณค่าด้วย พูดอีกอย่างหนึ่งคือต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดที่เคยมีแต่เดิม นำดิจิทัลเทคโนโลนยีเข้ามาใช้ สร้างสินค้าและบริการที่มีคุณค่ามากกว่าที่เคยเป็น ด้วยเหตุนี้การสร้างสรรค์และการปฏิวัติจึงเป็นสิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ การปลูกฝังให้คนไทยมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัล จะเชื่อมโยงสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ดียิ่งขึ้น

ในภาคปฏิบัติของดิจิทัลไทยแลนด์ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์สำคัญดังต่อไปนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : จัดเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล
จัดสรรระบบการสื่อสารโทรคมนาคมทุกภาคส่วนในประเทศไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีทั้งความรวดเร็วและความน่าเชื่อถือในการใช้งาน รวมถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการติดต่อสื่อสารที่หลากหลาย ปลอดภัยและราคาสมเหตุสมผล

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนระดับภาครัฐเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมดิจิทัล
ตระเตรียมแผนนโยบายต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับธุรกิจที่เข้าสู่แขนงงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : สร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อให้การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย
มอบโอกาสในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนไทย เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียม

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ปรับเปลี่ยนสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล
ปรับเปลี่ยนการทำงานบริการประชาชนให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
ปลูกฝังความรู้พื้นฐานเพื่อนำสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตประชาชนภายใต้เศรษฐกิจดิจิทัล

ยุทธศาสตร์ที่ 6 : ตระเตรียมกฎหมายไซเบอร์เพื่อก้าวสู่สังคมดิจิทัล
ผลักดันพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายอีคอมเมิร์ซ และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

กลยุทธ์เปลี่ยนสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้

ระยะที่ 1 : พัฒนาและจัดวางระบบบรอดแบรนด์ทั่วประเทศ เพื่อให้คนไทยทุกคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

ระยะที่ 2 (5 ปี) : กระตุ้นระบบงานบริการสาธารณะตามการพัฒนาเข้าสู่ยุครัฐบาลดิจิทัล รวมถึงกระตุ้นการการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ

ระยะที่ 3 (10 ปี) : ผลักดันเศรษฐกิจทุกด้านของไทยให้เข้าสู่การเป็นดิจิทัล ส่งเสริมระบบด้านต่าง ๆ อาทิ ห่วงโซ่อุปทานหรือซัปพลายเชนให้มีความปลอดภัย โปร่งใส เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น

ระยะที่ 4 (20 ปี) : ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน

แม้จะเกินกรอบเวลาที่กำหนดไว้อยู่บ้าง แต่ก็ต้องยอมรับว่าการบรรยายของดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ อัดแน่นด้วยความรู้ที่น่าสนใจ อีกทั้งยังเป็นเครื่องชี้นำให้มองเห็นภาพชัดเจนขึ้น ว่านโยบายประเทศไทย 4.0 ภายใต้การผลักดันของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมประเทศไทย จะมีส่วนส่งเสริมการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนในอนาคตอย่างแน่นอน

ลำดับต่อไป ขอพูดถึงเนื้อหาในหัวข้อ “Digital Transformation will change your business” ซึ่งทางเราได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบัน IMC เข้าร่วมบรรยายใน Session-2 กันต่อครับ

RECOMMEND