Business Improvement Solutions
Others
11.06.2021
“Digital Transformation will change your business”
ลำดับต่อมาเป็นเนื้อหาการบรรยายของ รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบัน IMC ใน Session-2 ของกิจกรรม JRIT ICHI Opening Event
อาจกล่าวได้ว่า ณ เวลานี้เรากำลังเผชิญหน้ากับยุค “การทำลายอย่างสร้างสรรค์” สองระลอก โดยระลอกแรกเกิดจากนวัตกรรมในองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งมีความรุดหน้าอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ดิจิทัล รวมถึงแอปพลิเคชันในอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Digital disruption จากนั้นโควิด-19 ก็ได้เข้ามาเป็นปัจจัยก่อให้เกิดการทำลายอย่างสร้างสรรค์ระลอกที่สอง ถือเป็นตัวเร่งให้เกิด Digital disruption รวดเร็วยิ่งขึ้นอีก
เทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบระดับใหญ่หลวงต่อธุรกิจของพวกเรา มีดังต่อไปนี้
1) IoT (Internet of Things)
หมายถึงอุปกรณ์ทุกชนิดที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นเทคโนโลยีที่ขาดไม่ได้สำหรับธุรกิจของพวกเรา
2) ระบบคลาวด์
สิ่งจำเป็นสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่จากอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์
3) 5G
ปัจจัยอำนวยความสะดวกในการส่งต่อข้อมูล ด้วยระบบการสื่อสารความเร็วสูง
4) บิ๊กดาต้า
ข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมและคำนวณจากอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ IoT ซึ่งเป็นปัจจัยก่อเกิดประโยชน์อเนกอนันต์ทางด้านธุรกิจ
5) ปัญญาประดิษฐ์ (AI)
เทคโนโลยีเพื่อการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มลูกค้า เพื่อให้เข้าใจลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
6) ควอนตัมคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์แห่งยุคอนาคต ซึ่งจะเข้ามาช่วยจัดการปัญหาที่ยากจะรับมือได้ภายในเวลาหรือขอบเขตพื้นที่ตามความเป็นจริง
7) ระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
กลไกจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดของธุรกิจให้อยู่ในความปลอดภัย จะเริ่มเป็นที่ต้องการมากขึ้น
8) ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งานหรือ User Interface (UI)
การพัฒนา UI รูปแบบต่าง ๆ อาทิ ระบบสั่งงานด้วยเสียง VR และ AR จะรุดหน้ามากยิ่งขึ้น
9) บล็อกเชน
เมื่อเกิดการแลกเปลี่ยนทางธุรกิจระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนข้อมูล กลไกซึ่งช่วยให้การแลกเปลี่ยนนั้นดำเนินอย่างถูกต้องเหมาะสม ยากต่อการปลอมแปลงแก้ไข อีกทั้งช่วยให้การแลกเปลี่ยนลื่นไหลไม่สะดุด ย่อมเป็นที่ต้องการตามมา
เทคโนโลยีดิจิทัลเหล่านี้จะกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตทั่วโลก รวมถึงทำหน้าที่เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าในอนาคตภายภาคหน้า องค์กรธุรกิจที่นำปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามาใช้งานจะมีเพิ่มขึ้น พูดอีกอย่างหนึ่งคือ การปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเปรียบเสมือนหัวใจสำคัญ เพื่อให้บริษัทของตนมีกำลังแข่งขันเป็นต่อเหนือคู่แข่ง ในทางตรงกันข้าม หากไล่ตามการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ทัน ก็คงยากจะหนีผลกระทบรุนแรงจาก Digital disruption ได้พ้น
หลายคนเข้าใจว่า Digital Transformation เป็นแค่เพียงการปรับการทำงานให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digitization) แต่แท้ที่จริงแล้ว Digital Transformation หมายถึง การปฏิวัติรูปแบบการบริหารจัดการ โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในกระบวนการปฏิบัติงาน และปรับแก้ระบบการทำงานที่ผ่านมาให้ดีขึ้น เพื่อเชื่อมโยงสู่สร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจ
การเข้าใจลูกค้าอย่างรู้ลึกรู้จริง ถือเป็นหัวใจสำคัญในกระบวนการ Digital Transformation ส่วนบุคลากรซึ่งมีความเข้าใจเป้าหมาย รวมถึงรูปแบบธุรกิจขององค์กรอย่างถ่องแท้ มีวัฒนธรรมเข้าใจลูกค้า เรียนรู้เร็วทำงานไว เปรียบได้กับทรัพยากรสำคัญที่ทุกบริษัทควรต้องมีเก็บไว้ ขณะเดียวกัน แม้จะเป็นหน่วยงานธุรกิจขนาดเล็ก ก็ไม่ควรหละหลวมในเรื่องความซื่อสัตย์ต่อธุรกิจ ความเอาใจใส่ รวมถึงรู้จักค้นคว้าหาข้อมูลด้านเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ เพราะในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลก้าวเข้ามาเป็นเครื่องมือสำหรับการปฏิรูปธุรกิจเช่นนี้ การติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนสู่ดิจิทัล (Digitalization) ในภาคธุรกิจอยู่เป็นประจำ อาจเป็นหนทางเดียวที่ช่วยให้อยู่รอด
รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ คือ ผู้นำด้านการขับเคลื่อน Digital Transformation ในประเทศไทย และเคยขึ้นบรรยายในงานสัมมนาต่าง ๆ มาแล้วมากมาย นอกจากนี้ยังเป็นผู้อำนวยการสถาบัน IMC ซึ่งคอยนำเสนอบทความน่าสนใจแก่บรรดาผู้ประกอบการไทยอยู่ไม่ขาด การบรรยายครั้งนี้ทำให้เราทุกคนมองเห็นภาพว่า Digital Transformation นี่ละ ที่เป็นทางลัดสู่การพลิกฟื้นเศรษกิจไทยอย่างแท้จริง
ครั้งหน้าพบกับเนื้อหาการอภิปรายในหัวข้อ “Success story of Digital Transformation in Thai” โดยตัวแทนจาก 3 บริษัทประกอบด้วย NTT Data, Hitachi Asia, Thai NS Solutions ดำเนินรายการโดย คุณวิชัย วรธานีวงศ์
ผู้สนใจรับชม session นี้ย้อนหลัง สามารถเข้าไปชมได้ที่ Webinar Zone ในงาน ICHI
บทความนี้เขียนจากการสัมภาษณ์ นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มุ่งถ่ายทอดจุดเน้น เจตนารมณ์ ตลอดจนหลักคิดของกฎหมาย เพื่อสร้างความเข้าใจ และคลายความกังวลให้แก่องค์กรธุรกิจ โดยคาดหวังว่า หลังจากกฎหมายบังคับใช้จะสร้างสมดุลด้านการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในสังคมไทย หากทุกฝ่ายเกิดความตระหนักและเข้าใจตรงกัน นั่นคือ ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
01.04.2022
1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในมาตราที่เลื่อนการบังคับใช้ออกมา 2 ปี จะเริ่มมีผล แม้จะเหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่เดือน แต่ก็สามารถเร่งดำเนินการให้องค์กรปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ได้ไม่ยาก โดย นายกำพล ศรธนะรัตน์ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Protection Officer (DPO) และที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และประธานชมรม DPO ได้ให้หลักการ แนวทาง ตลอดจนขั้นตอนการปฏิบัติ ไว้ในที่นี้
20.04.2022
ปัจจุบันเรื่องของกฎหมาย พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) มีบทบาท และเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งทุกองค์กรจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และนำไปปรับใช้ภายในองค์กรอย่างเหมาะสม โดยการนำไปใช้ในองค์กรให้เหมาะสมนั้น มีหลากหลายมิติที่หลายฝ่ายในองค์กรจำเป็นที่จะต้องหาทางออกร่วมกัน เพื่อนำหลักกฎหมาย PDPA ไปใช้อย่างถูกต้อง และเกิดประโยชน์สูงสุด
05.05.2022