Smart Factory

Digital Twin

IoT, M2M

04.07.2021

Smart Factory จะพลิกโฉมภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทยอย่างไรในอนาคต

Smart Factory จะพลิกโฉมภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทยอย่างไรในอนาคต

JRIT ICHI ได้จัดงาน Special Webinar บนเว็บไซต์ของงาน JRIT ICHI ขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา เพื่อแนะนำนวัตกรรมอุตสาหกรรมการผลิตภายใต้หัวข้อ “Smart Factory”
ในครั้งนี้ เราได้รับเกียรติจาก อ.สิทธิภรณ์ เมืองกลาง แห่ง Industrial Revolution (iRev) มาบรรยายในหัวข้อ “Smart Factory จะพลิกโฉมภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทยอย่างไรในอนาคต”

นอกจากนี้ คุณโจ จาก ISID South East Asia ก็ยังได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ “กรณีความสำเร็จของโซลูชันการควบคุมการผลิตโดยใช้ IoT” และ คุณหยก จาก TOYOTA TSUSHO SYSTEMS ให้เกียรติร่วมบรรยายในหัวข้อ “Accelerate DX with an integrated platform of data utilization”

หลังจากนี้ เราขอแนะนำเนื้อหาการบรรยายในส่วนของอ.สิทธิภรณ์ เมืองกลาง แห่ง Industrial Revolution (iRev) ครับ

ในปัจจุบันเป็นยุคของ Digital Transformation หรือ ยุค IoT โดย Digital Transformation สามารถแบ่งออกได้เป็นสองแบบ คือ Digital Business Optimization เป็นการเพิ่มผลผลิตและสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า ซึ่งองค์กรส่วนใหญ่สามารถทำได้เลย อีกแบบหนึ่งคือ Digital Business Transformation คือการทำโมเดลธุรกิจใหม่

การที่เราจะทำให้โรงงานของเราสามารถแข่งขันในตลาดได้ คือทำให้โรงงานเป็นโรงงานอัจฉริยะ
ซึ่งประโยชน์ของโรงงานอัจฉริยะ คือ สามารถสื่อสารกันได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกัน รวมถึงเป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจ เพิ่มประสิทธิภาพในแต่ละส่วนงานขององค์กร โดยมีมาตรฐานที่เรียกว่า ISA-95 เป็นรูปสามเหลี่ยม โดยบนสุดของปลายยอดคือ ERP (Enterprise Resource Planning) เป็นระบบที่ใช้ในการรวมศูนย์ข้อมูล ลดความซับซ้อนของงาน แต่ยังขาดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร อาทิ เครื่องจักรกำลังผลิตสินค้าอะไร ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลเรียลไทม์ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในสมัยก่อน แต่ในปัจจุบันอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆ มีราคาถูกลง ทำให้สามารถเชื่อมข้อมูลได้โดยใช้สายLANหรือWIRELESS และทำให้เราได้รับข้อมูลแบบเรียลไทม์

ในอุตสาหกรรม 4.0 มีเฟรมเวิร์คดังนี้ 

1. Architecture ซึ่งใช้คำว่า Digital twin หมายถึง การตรวจสอบการประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงสินค้าที่เครื่องจักรทำการผลิตอยู่ได้โดยไม่ต้องเข้าไปที่โรงงาน
2. Product Life Cycle คือ end to end เราสามารถเห็นข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงกระบวนการส่งมอบสินค้า
3. Hierarchy คือ การเชื่อมโยงข้อมูลแบบใยแมงมุม หรือ connect dot ข้อดีคือ ทำให้สามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้ และก่อให้ประโยชน์ต่อทั้งองค์กร

เราสามารถทำการประเมินองค์กรของตนว่ากำลังอยู่ในลำดับขั้นตอนใดแล้ว โดยมี 6 ลำดับดังนี้

1. Computerization
2. Connectivity     การนำข้อมูลการผลิตมาเชื่อมโยงกับระบบได้
3. Visibility     ข้อมูลที่สามารถมองเห็นได้
4. Transparency  ข้อมูลที่ดี มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ
5. Predictability   สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ปรับปรุงร่วมกัน หรือจะเป็นการวางแผนงานอื่นๆที่มีประโยชน์
6. Adaptability    มีการทำงานคล้ายปัญญาประดิษฐ์ คือสามารถทราบถึงความต้องการชองลูกค้า อาทิ ระยะเวลาในการสั่งซื้อและส่งมอบสินค้า รวมถึงวิธีผลิตสินค้าให้มีประสิทธิภาพ

ความสำคัญในการทำโรงงานอัจฉริยะ มีดังนี้

1. Strategic objectives
องค์กรต้องขับเคลื่อนด้วยระดับผู้บริหาร กลยุทธ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์เป็นเรื่องสำคัญในเชิงนโยบาย วัฒนธรรม และการลงทุน
2. Operation Excellence
การทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
3. Operational Architecture
IT และ OT ต้องเชื่อมโยงข้อมูลกัน
4. Business Case Development
เลือกโครงการที่เป็นไพรอทโปรเจ็คทำ
5. Solution Selection
วัดผลความสำเร็จที่เกิดขึ้นในองค์กร

ในองค์กรหลายแห่งจะมีกระบวนการทำงานอยู่ 4 ขั้น ซึ่งในกระบวนการสุดท้ายที่จะทำการพัฒนาไปได้คือการทำงานอัตโนมัติตั้งแต่เริ่มกระบวนการไปจนถึงการนำส่งสินค้า ซึ่งรูปแบบนี้มีข้อดีคือ สามารถเก็บเงินได้ทันทีโดยไม่ต้องรอเวลา แต่ในขั้นตอนแรก หรือ Operation Efficiency จะให้ความสำคัญอยู่ 4 เรื่องหลักคือ

1. Customer Centricity
การมองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้ามากที่สุด สร้างประสบการณ์ เปลี่ยนแปลงจากเชิงรับเป็นเชิงรุก
2. Operation Excellence
การทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพ จะช่วยในเรื่องการควบคุมต้นทุน ค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดกำไรส่วนเพิ่ม
3. Innovation
การที่องค์กรคิดหาวิธีใหม่เพื่อลดค่าใช้จ่ายได้จากนวัตกรรมต่างๆ เช่น การไม่มีคลังสินค้า หรือนโยบาย Just in time
4. Agility
การใช้งานเครื่องจักรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ให้เกิดการสูญเสียโอกาสในการผลิต รวมถึงเพิ่มสิทธิภาพของบุคลากร

การเริ่มทำโรงงานอัจฉริยะนั้นเริ่มจากนำ IIoT (Industrial Internet of Thing) มาใช้งาน เพื่อส่งข้อมูลไปยังคลาวด์ ซึ่งการทำงานเช่นนี้จะช่วยในการติดตามการทำงานของโรงงานในที่ต่างๆได้ โดยมีอุปกรณ์สำคัญ ดังนี้
•    Wireless PLC
•    4G Router
•    Cloud Server

ข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์เหล่านี้สามารถเข้าถึงผ่าน Web device หรือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆได้ โดยสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ดังนี้

1. การวิเคราะห์ข้อมูล Realtime OEE และการวัดประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร
2. Integrated Planning: นำข้อมูลจาก ERP อาทิ ประเภทสินค้า หรือจำนวนที่ต้องการผลิตมาเชื่อมต่อกับเครื่องจักรได้โดยตรง ทำให้สามารถทำงานได้ตามแผนที่วางไว้
3. Event Notification: เมื่อเกิดปัญหาระบบจะแจ้งเตือน รวมถึงส่งข้อมูลไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ไม่ต้องรอเวลา

ปัจจัยของการประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรม 4.0 คือ Smart people (People as a key players) คือ การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ทั้งในการแก้ปัญหาและป้องกันการเกิดปัญหา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กรโดยอิงจากข้อมูลในระบบ การดำเนินงานไปทีละขั้นตอน เรียนรู้จากลูกค้าและพาร์ทเนอร์ นำข้อมูลทางดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ และยึดหลัก TTT (ทำทันที)

RECOMMEND