FoodTech
COVID-19
Marketing
Innovation
22.02.2023
พื้นฐานความสำเร็จในวงการอาหารและความสำคัญของ FoodTech
ปัจจุบันเราเริ่มเห็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารมากขึ้น ตอกย้ำถึงความสำคัญของ FoodTech ซึ่งเข้ามามีบทบาทในวงการอาหาร ทั้งเพื่อเพิ่มผลผลิต และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสินค้าหรืออาหารให้ผู้บริโภคได้มากที่สุด แต่ก่อนที่จะเลือกใช้เทคโนโลยีกับธุรกิจ ผู้ประกอบการก็จำเป็นต้องทำความรู้จัก และเข้าใจ business model ของธุรกิจตนเองอย่างละเอียดเสียก่อน จึงจะสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการทำงานในองค์กรมากที่สุด ในวันนี้ทีมงานได้รับเกียรติจากคุณธิติพันธ์ บุญมี หรือคุณหนึ่ง CEO & Founder, QBox point Co., Ltd เจ้าของแพลตฟอร์ม Farmbook ซึ่งได้อธิบายถึงความสำคัญของ FoodTech และร่วมบอกเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารไว้ได้อย่างน่าสนใจเป็นอย่างมาก
Farmbook คืออะไร?
Farmbook คือ แพลตฟอร์มสำหรับผู้มีความสนใจหรือชื่นชอบด้านการเกษตร ไม่จำกัดเพียงแค่เฉพาะเกษตรกรเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้เกี่ยวข้องกับ Eco-system ของอุตสาหกรรมการเกษตรทั้งหมด โดยมีวัตถุประสงค์ให้ User ทุกท่านที่ใช้ Farmbook สามารถเข้ามาหาความรู้หรือข้อมูลด้านการเกษตร และสามารถมองหากลุ่มเป้าหมายได้ หรือพูดได้อีกอย่างว่าเป็นระบบ Short supply chain ที่สามารถทำให้ผู้ผลิต ผู้ซื้อ และผู้ลงทุนมาเจอกันหรือร่วมงานกันได้ที่ Platform นี้ โดยกลุ่มเป้าหมายจะครอบคลุมไปจนถึงฝั่งของ Stock holder หรือ partner อื่น ๆ อีกด้วย ทั้งนี้ Farmbook ยังเน้นความสนใจหรือโฟกัสไปที่ด้านของ ผู้ซื้อ เป็นหลัก และมีเป้าหมายให้ผู้ซื้อได้มีโอกาสพบเจอ หรือทำการซื้อขายกับเกษตรกรได้โดยตรงแบบไม่หักค่าคนกลางใด ๆ ซึ่งเราอาจแบ่งผู้ซื้อของ Farmbook ออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ๆ ด้วยกัน
1. Food Processing – กลุ่มอุตสาหกรรม หรือ โรงงานขนาดใหญ่
2. Food Service – กลุ่มโรงแรม ร้านอาหาร Modern trade
3. Food exporter – กลุ่มผู้ส่งออก
4. Food delivery – กลุ่มผู้บริโภคทั่วไป
จะสังเกตได้ว่า กลุ่มเป้าหมายทั้ง 4 ข้อด้านบนมีพื้นที่แทบจะครอบคลุมในทุกธุรกิจในวงการอาหาร ดังนั้น Farmbook จึงเปรียบเสมือนตัวแทนเครือข่ายที่จะเชื่อมความสัมพันธ์ทางธุรกิจให้กับกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้นั่นเอง
FoodTech ในมุมมองของคุณหนึ่ง – ธิติพันธ์ บุญมี
คุณหนึ่งอธิบายเรื่อง FoodTech ซึ่งปัจจุบันกำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในอุตสาหกรรมอาหารจากมุมมองของตัวเองไว้ว่า เนื่องจากปัจจุบันจำนวนประชากรโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการหรือ Demand ด้านอาหารจึงมีปริมาณสูงขึ้นตามไปด้วย เมื่อการเกษตรเปรียบเสมือนต้นทางของอาหารโลก การเกษตร หรือแม้แต่การผลิตอาหารในรูปแบบเดิม ๆ จึงอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ หากเกษตรกรยังต้องลงมือทำด้วยตัวเองทั้งหมด และยังไม่สามารถคาดเดาสภาพอากาศของแต่ละวันในพื้นที่สภาพอากาศแปรปรวนได้ ก็ไม่มีทางที่จะเพิ่มกำลังผลิตอาหารสดซึ่งถือเป็นต้นทางของอาหารโลกได้เลย ดังนั้นการนำ FoodTech หรือเทคโนโลยีด้านอาหารเข้ามาสนับสนุนหรือพัฒนาการทำงานในอุตสาหกรรมการเกษตร เพิ่มเพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการจึงมีความสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นการลดพื้นที่การใช้งาน ลดต้นทุนการผลิต การควบคุมประสิทธิภาพของสินค้า เป็นต้น
“การเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตหรืออาหาร ส่งผลให้ผู้บริโภคเองก็จะได้รับสินค้าหรืออาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัยด้วยเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลดีทั้งผู้ผลิตและผู้ซื้อนั่นเอง”
ต้องการใช้ FoodTech ควรเริ่มต้นอย่างไร?
คุณหนึ่งได้กล่าวทิ้งท้ายเพื่อฝากถึงกลุ่มคนที่กำลังเริ่มทำธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารและต้องการนำ FoodTech เข้ามาใช้ในองค์กร แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มอย่างไรว่า “ผมคิดว่าในการเริ่มทำธุรกิจนั้น ไม่ได้อยากให้โฟกัสไปทางด้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เป็นลำดับแรก เพียงแต่อยากให้เข้าใจธุรกิจที่เรากำลังจะทำ เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เข้าใจ Model ธุรกิจของตัวเองให้ชัดเจนก่อน ในหลาย ๆ ครั้งที่องค์กรได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งาน แต่ไม่ได้รับรู้ว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นคืออะไร เพื่ออะไร และแก้ปัญหาในส่วนไหน ผมจึงอยากแนะนำว่าให้เริ่มทำธุรกิจจนเราเข้าใจทุกอย่างในบริษัทและการทำงานเป็นอย่างดีก่อน หากพบว่ามีปัญหาในการทำงานในส่วนไหน จึงนำเทคโนโลยีเข้ามาแก้ไขปัญหาในส่วนนั้น น่าจะตอบโจทย์การทำธุรกิจมากที่สุดครับ”
Related Articles
MedTech เป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน นักวิจัยและผู้ประกอบการหลายรายต่างเริ่มเข้ามาสู่ตลาดเทคโนโลยีทางการแพทย์มากขึ้น สิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงมากที่สุด คือ เรื่องของประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้งาน รวมทั้งการคำนึงถึงกฎระเบียบในการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาดด้วยเช่นกัน
03.08.2022
บทความนี้เขียนจากการสัมภาษณ์ นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มุ่งถ่ายทอดจุดเน้น เจตนารมณ์ ตลอดจนหลักคิดของกฎหมาย เพื่อสร้างความเข้าใจ และคลายความกังวลให้แก่องค์กรธุรกิจ โดยคาดหวังว่า หลังจากกฎหมายบังคับใช้จะสร้างสมดุลด้านการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในสังคมไทย หากทุกฝ่ายเกิดความตระหนักและเข้าใจตรงกัน นั่นคือ ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
01.04.2022
1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในมาตราที่เลื่อนการบังคับใช้ออกมา 2 ปี จะเริ่มมีผล แม้จะเหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่เดือน แต่ก็สามารถเร่งดำเนินการให้องค์กรปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ได้ไม่ยาก โดย นายกำพล ศรธนะรัตน์ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Protection Officer (DPO) และที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และประธานชมรม DPO ได้ให้หลักการ แนวทาง ตลอดจนขั้นตอนการปฏิบัติ ไว้ในที่นี้
20.04.2022