AI Technology

07.02.2024

จุดแข็งของ Recursive ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจโดยใช้ “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) x ความยั่งยืน” ในแบบฉบับของบริษัทในประเทศไทย คืออะไร ?

ประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะกลายเป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2579 ด้วยวิสัยทัศน์ระยะยาวของประเทศไทยที่ว่า “ไทยแลนด์ 4.0” จึงมีเจ้าของธุรกิจจำนวนมากในประเทศไทยให้ความสนใจในเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นอย่างมาก ซึ่งแตกต่างจากประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น บริษัท Recursive จำกัด จึงได้ผสมผสานความยั่งยืนและเทคโนโลยีปัญญาาประดิษฐ์ (AI) เข้าด้วยกัน เพื่อมาแก้ไขปัญหาที่ท้าทายดังกล่าวในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในครั้งนี้ เราได้พูดคุยกับคุณคาสึโทชิ ยามาดะ กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ (COO) เกี่ยวกับภาพรวมธุรกิจของ Recursive รวมถึงความเป็นมาของการขยายธุรกิจสู่ประเทศไทย และแนวโน้มของบริษัท

การจัดหาโซลูชัน “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) x ความยั่งยืน” แบบกำหนดเอง
– ก่อนอื่น เราขอทราบเกี่ยวกับภาพรวมธุรกิจของบริษัทของคุณ
เรามีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) พัฒนาซอฟต์แวร์ พัฒนาธุรกิจและการปฏิบัติการเป็นหลัก จุดแข็งของเราคือความสามารถในการจัดหาโซลูชันแบบกำหนดเองได้ โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการแก้ปัญหาเฉพาะทางธุรกิจ ซึ่งมีบริษัทเพียงไม่กี่แห่งที่สามารถพัฒนาอัลกอริทึม (Algorithm) ดั้งเดิมได้อย่าง Recursive แทนที่จะแก้ไขด้วย API ที่มีอยู่หรือโอเพนซอร์ส เราจึงได้จัดเตรียมสิ่งนี้ไว้ เพื่อเป็นการพัฒนาตามโครงการ เทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์

เหตุผลที่เรายืนยันในผลิตภัณฑ์ที่สั่งทำพิเศษ ก็เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นหลังจากการแนะนำเทคโนโลยี เช่น “การนำซอฟต์แวร์เข้ามา แต่ไม่ได้ใช้งานจริง” “ผลลัพธ์และการดำเนินการไม่มีการเปลี่ยนแปลง”

เทคโนโลยีปัญญาาประดิษฐ์ (AI) สำหรับนวัตกรรมที่ยั่งยืนมี 4 เสาหลัก ได้แก่ การเร่งสร้างนวัตกรรม การเพิ่มผลผลิต การเตรียมพร้อมสำหรับความเสี่ยงในอนาคต การส่งมอบงานและการศึกษาที่ดีขึ้น ซึ่งเราได้ดำเนินธุรกิจกับลูกค้าของเรา โดยยึดหลักทั้ง 4 ประการนี้

ตัวอย่างเช่น โครงการในประเทศอินโดนีเซีย ที่เราร่วมงานกับทาง Sumitomo Forestry และ IHI ในพื้นที่ป่าพรุ (Peat Swamp Forest) เขตร้อนของประเทศอินโดนีเซียที่ต้องเผชิญกับภัยแล้งและน้ำท่วม เนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่าที่ไม่ได้รับการควบคุมและการเพาะปลูกแบบเฉือนแล้วเผา ดังนั้นเมื่อระดับน้ำใต้พื้นดินลดลง ส่งผลทำให้ดินแห้งและเกิดไฟป่า ด้วยการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของ Recursive มาใช้ ทำให้เราสามารถคาดการณ์ระดับน้ำใต้พื้นดินล่วงหน้าได้สูงสุด 7 วัน โดยทางบริษัท Recursive สามารถผลิตเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์นี้สำเร็จได้ภายในเวลาเพียง 2 เดือนเท่านั้น ในขณะที่บริษัทอื่น ๆ ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปีครึ่ง และในขณะนี้เรากำลังดำเนินโครงการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติโดยใช้แบบจำลองเพื่อดำเนินการทางน้ำและเขื่อนอย่างเหมาะสม

เรามีบุคลากรมืออาชีพที่สามารถทำทุกอย่างตั้งแต่การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาาประดิษฐ์ (AI) ไปจนถึงการพัฒนาธุรกิจ
– Recursive มีบุคลากรแบบใดบ้าง?
จุดแข็งของเราอีกประการหนึ่งคือ มีบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะตัวในเอเชีย ตัวอย่าง เช่น คุณเทียโก้ (Tiago) ประธานบริษัท (CEO) ที่มาจากประเทศโปรตุเกสและเคยทำงานที่บริษัท Google Deep Mind หลังได้รับปริญญาเอกจากประเทศเยอรมนี เขาทำหน้าที่เป็นวิศวกรวิจัยอาวุโส ได้ตีพิมพ์บทความวิจัยใน Nature และบริหารจัดการทีมพัฒนา AlphaGo ซึ่งเอาชนะแชมป์โลก Igo ได้

ผมเป็นผู้ประกอบการที่จริงจังและหลงใหลในความยั่งยืนมาตั้งแต่อายุ 16 ปี ผมรับผิดชอบในการเปิดตัวในวงการตลาดแฟชั่นญี่ปุ่น โดยใช้หลักการแฟชั่นแบบยั่งยืน (Sustainable Fashion) แต่ยังเร็วเกินไปที่จะทำมัน ดังนั้นผมจึงหันไปสนใจและให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี และได้เข้าสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีปัญญาาประดิษฐ์ (AI) ในปี 2559 หลังจากนั้น ผมได้เริ่มเปิดบริษัทประมาณ 3 บริษัทติดต่อกัน โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2561 แต่หลังจากได้พบกับคุณเทียโก้ (Tiago) ผมจึงตัดสินใจร่วมก่อตั้งบริษัทด้วยกัน

นอกจากนี้ ยังมีคุณวาคาบายาชิ ผู้ดูแลแผนกพัฒนาลูกค้าของ Google และทำงานในโครงการ DX ร่วมกับบริษัทขนาดใหญ่ และคุณมิเกล (Miguel) ซึ่งทำงานเป็นวิศวกรแบ็กเอนด์อาวุโสที่ Apple Music

การมีอยู่ของบุคลากรดังที่ได้กล่าวมานั้นถือเป็นจุดแข็งของเราที่ทำให้เราสามารถสร้างโซลูชันแบบครบวงจรได้ ตั้งแต่การให้คำปรึกษาที่มุ่งพัฒนาธุรกิจไปจนถึงการพัฒนาซอฟต์แวร์ เรามักจะได้รับคำชมจากลูกค้าว่า “Recursive จัดการทุกอย่างครบจบในที่เดียว” ยังมีบริษัทสตาร์ทอัพอื่นๆ ที่รับผิดชอบเพียงแค่พัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เท่านั้น แต่เรานั้นมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือซอฟต์แวร์ และการพัฒนาธุรกิจ อีกทั้งยังสามารถดำเนินการจัดการในมุมมองด้านความยั่งยืนได้อีกด้วย เราจึงได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากลูกค้าในด้านที่สามารถแก้ไขปัญหาด้านความยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยและอธิบายได้เข้าใจง่าย และยังดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว

ด้วยความหลงใหลในความกระตือรือร้นที่หมุนเวียนอยู่ในประเทศไทย เราจึงตัดสินใจขยายธุรกิจสู่ประเทศไทย
– อะไรทำให้คุณตัดสินใจขยายธุรกิจสู่ประเทศไทย
เราเริ่มย้ายเข้ามาในประเทศไทยประมาณเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566

ในขณะที่ได้ร่วมงานกับผู้คนมากมาย รวมถึงกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม และ JETRO ก็ได้พูดคุยถึงการที่สตาร์ทอัพเช่นพวกเราที่ได้เป็นผู้สร้างตัวอย่างการขยายธุรกิจไปต่างประเทศ และพวกเราก็คิดที่จะนำประสบการณ์ความรู้เหล่านั้นกลับมาที่ญี่ปุ่นด้วย อาจจะฟังดูโอ้อวดเล็กน้อย แต่ผมไม่ได้จะเอาตัวอย่างที่กล่าวมานี้มาเพื่อขับเคลื่อนบริษัทญี่ปุ่น แต่ผมอยากให้พวกเขารู้สึกตระหนักถึงวิกฤติ

อีกทั้ง เรายังมีสมาชิกอีก 43 ราย จาก 18 ประเทศ ผมจึงคิดว่าเราควรมุ่งเป้าไปที่โอกาสทางธุรกิจให้มากขึ้นเรื่อย ๆ และในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้เกิดความน่าสนใจในการที่เราสามารถอาศัยประโยชน์จากที่ตั้งของญี่ปุ่นได้

ตัวผมเองมีประสบการณ์เป็นผู้บริหารบริษัทในประเทศสิงคโปร์ และเป็นเจ้าของบริษัทในประเทศเวียดนามด้วย ดังนั้นผมจึงมีความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่บ้าง และเมื่อพูดถึงลูกค้าที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับบริษัทของเรานั้น ส่วนมากจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่และกลุ่มบริษัทที่สามารถลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาวได้เป็นหลัก ประเทศไทยเป็นแหล่งรวมบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่ง รวมถึงกลุ่มซีพี (เจริญโภคภัณฑ์) จึงเป็นเรื่องจริงที่ว่าผมรู้สึกสนใจในจุดนั้น

– ประทับใจอะไรในประเทศไทย หลังจากการดูงานสถานที่จริง?
ผมได้พูดคุยกับกลุ่มบริษัทในเครือซีพี (CP) และเครือบ้านปู (BANPU) ซึ่งพวกเขานั้นมีความกังวลในด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ผมจึงคิดว่าเราสามารถดำเนินธุรกิจร่วมกันได้ เนื่องจากพวกผมสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีปัญญาาประดิษฐ์ (AI) ในการยกระดับพนักงานร่วมกับการแก้ไขปัญหาทางสังคมนี้ไปพร้อมกันได้นั่นเอง

– คุณรู้สึกถึงความแตกต่างของวัฒนธรรมทางธุรกิจหรือไม่?
ผมรู้สึกถึงความมุ่งมั่นไม่เพียงแค่จากบุคคลากรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงระดับผู้บริหารที่มุ่งจะ “เรียนรู้สิ่งใหม่” และ “ต้องทำให้เป็นจริง” คุณเทียโก้ (Tiago) เป็นวิทยากรหลักที่ Rock Thailand #5 ในเดือนสิงหาคม 2566 ผมก็เลยไปที่นั่นด้วย และผู้บริหารจากกลุ่มบริษัทชื่อดังก็ได้เดินทางมาเพื่อพบปะกับพวกเรา

ในช่วงก่อตั้งบริษัทของเรา มีคนแนะนำให้เรารู้จักกับรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) ระดับสูงของเครือซีพี (CP) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ดร. เจเจ (Dr. JJ) และได้ให้ความกรุณาเข้าร่วมการประชุมกับ Recursive ด้วยตัวเอง ในญี่ปุ่นนั้นถือว่าเป็นเรื่องยากที่รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) ระดับสูงของกลุ่มบริษัทจะเข้าร่วมการประชุมกับบริษัทสตาร์ทอัพที่เพิ่งดำเนินธุรกิจได้เพียงไม่กี่เดือน ทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นที่โครงการนี้จะกลายเป็นจริงได้ในประเทศไทย

นอกจากนี้คำที่พวกเขามักพูดถึงคือ“เศรษฐกิจหมุนเวียน” ถึงแม้จะมีโอกาสน้อยที่จะได้ยินคำนี้จากบริษัทญี่ปุ่น แต่ก็มีบริษัทหลายแห่งในประเทศไทยที่คิดอย่างจริงจังเกี่ยวกับการดำเนินเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน หากกลุ่มบริษัทที่มีอิทธิพลทางสังคมสามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้ มันก็คงจะส่งผลกระทบยิ่งใหญ่ต่อประเทศด้วยเช่นกัน

ตั้งเป้าขยายสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกกลางด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) 4 อย่าง
– เป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่างไร?
มีเสาทั้งหมด 4 เสา ได้แก่ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ประดิษฐ์ข้อความ/ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ประดิษฐ์ภาพดิจิทัลเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทางเคมี และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) แบบฝัง

เทคโนโลยีปัญญาาประดิษฐ์ (AI) ประดิษฐ์ข้อความนั้น เราได้พัฒนา “Find Flow” ที่สามารถใช้ในระบบฐานข้อมูลของบริษัทขึ้น ที่สามารถตอบคำถามเฉพาะของบริษัทได้ โดยการใส่ข้อมูลบริษัทไว้ใน Find Flow ในด้านการอบรมพนักงาน ก็สามารถสร้างหลักสูตรที่เหมาะสมกับแนวโน้มของบุคลากรได้ด้วยการสร้างเนื้อหา การประเมินอัตโนมัติและการวิเคราะห์ลักษณะตามปัจเจกบุคคล

เกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สำหรับการประดิษฐ์ภาพดิจิทัล วิธีการจัดการที่มีอยู่ไม่สามารถประดิษฐ์ภาพที่ตรงกับภาพลักษณ์ของบริษัทได้ ทำให้อาจไม่สามารถใช้งานได้จริง เช่น กรณีที่ต้องการสร้างภาพธรรมชาติที่สวยงามเอาไว้ใช้เป็นแผ่นป้ายโฆษณา ก็จะมีการกำหนดรูปภาพที่ต้องการจะใช้จากตัวแบรนด์เองหรือประสบการณ์นั้น ๆ ซึ่งเราสามารถปรับเปลี่ยนให้ตรงกับความต้องการของแต่ละบริษัทได้

สำหรับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทางเคมี เรากำลังพัฒนา “Borealis” ที่สามารถสร้างแบบจำลองที่มีความแม่นยำสูงจากสถานที่ที่ห่างไกลจากพื้นที่สังเกตการณ์สภาพอากาศที่กำหนด สามารถทำการจำลองสภาพอากาศเพื่อคำนวณปริมาณพลังงานที่สร้างจากพลังงานทดแทน สร้างแผนที่เตือนอันตราย และตรวจสอบผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพได้ ซึ่งโดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกกลางก็ต่างให้ความสนใจต่อสิ่งนี้

– ขอทราบเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ในครั้งนี้
เราวางแผนที่จะเปิดสำนักงานที่ประเทศไทยในปี 2567 เนื่องจากได้รับโอกาสจากกลุ่มบริษัทในประเทศไทย โดยที่เราอาจจะเริ่มจากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ (PoC) เล็ก ๆ ก่อน แต่ว่าเราก็อยากจะเริ่มสร้างเรื่องราวความสำเร็จ โดยมุ่งไปที่โครงการความยั่งยืนในระยะยาว และก็ยังอยากที่จะขยายธุรกิจไปยังประเทศอื่น ๆ อีกด้วย ในทางกลับกันก็มีบริษัทในประเทศอื่น ๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เราสนใจ ดังนั้น
เราจึงมุ่งเน้นที่ประเทศไทยเป็นหลัก พร้อมทั้งยังคงตามหาโอกาสที่จะดำเนินธุรกิจในต่างประเทศต่อไป

นอกจากนี้เรามีความต้องการที่จะดำเนินโครงการขนาดใหญ่ร่วมกับรัฐบาลในประเทศแถบตะวันออกกลาง และประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลางมีสนใจเกี่ยวกับแหล่งพลังงานใหม่เป็นอย่างมาก ผมรู้สึกได้ว่ารัฐบาลในประเทศสิงคโปร์นั้น ไม่ได้เพียงแต่สนใจในพลังงานทดแทนเท่านั้น แต่ยังสนใจเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพและการแพทย์อีกด้วย

_________________________________________________________________________________

ท่านสามารถเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ครั้งนี้ได้มากถึง 3 รอบเวลา ดังนี้
รอบแรก วันที่ 22 ก.พ. 2567 เวลา 10.00 – 11.30 น.
รีรัน – 1 วันที่ 27 ก.พ. 2567 เวลา 15.00 – 16.30 น.
รีรัน – 2 วันที่ 2 มี.ค. 2567 เวลา 10.00 – 11.30 น.

ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ฟรี คลิก Webinar Registration – Zoom

RECOMMEND