SaaS/Cloud Services

COVID-19

Smart Factory

Design and Production

Design and Manufacturing Solutions

Software for Business

06.06.2023

【Manufacturing Tech】เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการการผลิตด้วย solution ที่ถูกปรับให้เหมาะกับตลาดประเทศไทย

เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการการผลิตด้วย solution ที่ถูกปรับให้เหมาะกับตลาดประเทศไทย

“Manufacturing Expo 2023” งานจัดแสดงเครื่องจักรอุตสาหกรรมระดับนานาชาติชั้นนำของอาเซียน มีผู้เข้าร่วมแสดงสินค้ามากกว่า 1,000 บริษัท จาก 30 ประเทศทั่วโลก ภายในงานนำเสนอเกี่ยวกับเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ดิจิทัลและ solution ใหม่ล่าสุดที่ช่วยปฏิรูปอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งเทคโนโลยีต่าง ๆ อาทิ AI, IoT, AR/VR, ระบบอัตโนมัติ, คลาวด์ และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของยุคอุตสาหกรรม 4.0 ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้กำลังเปลี่ยนโฉมของอุตสาหกรรมการผลิตในอาเซียนครั้งยิ่งใหญ่

ดังนั้นในงาน Manufacturing Expo 2023 นี้ เราจึงขอนำ 5 บริษัทจากกลุ่ม ICHI มาแนะนำใน ICHI Pavilion เพื่อให้คนไทยทุกคนได้ชม solution ด้านอุตสาหกรรมการผลิตอันยอดเยี่ยมของประเทศญี่ปุ่น

ครั้งนี้เรามีโอกาสได้สัมภาษณ์คุณเคสุเกะ ทะมะอิ ผู้จัดการทั่วไปของบริษัทไอเอสไอดี เซ้าท์อีส เอเชีย (ไทยแลนด์) จำกัด

ISID คือใคร?

บริษัท ไอเอสไอดี เซ้าท์อีส เอเชีย (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศไทยของ “บริษัท อินฟอร์เมชัน เซอร์วิส อินเตอร์เนชั่นแนล เดนท์สุ จำกัด (ISID)” โดยเป็นการร่วมทุนระหว่างเดนท์สุ บริษัทโฆษณารายใหญ่และ General Electric Company ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ ค.ศ. 1975 บริษัท ไอเอสไอดี เซ้าท์อีส เอเชีย (ไทยแลนด์) จำกัด เริ่มให้บริการในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงต้นยุค 2000 โดยเริ่มต้นธุรกิจจากการสนับสนุนการใช้งานระบบ CAD/CAM ซึ่งเป็นระบบสำคัญในการผลิตสินค้า และปรับปรุงแก้ไขปัญหาในห่วงโซ่วิศวกรรม โดยมุ่งเน้นตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบไปจนถึงการผลิต และมีความตั้งใจที่จะตอบสนองความต้องการของ Digital Transformation ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากวิกฤตโควิด-19 ด้วยบริการด้าน IT ที่หลากหลาย

ช่วยเล่าถึงเนื้อหาของการจัดแสดงใน ICHI Pavilion ให้ฟังสักเล็กน้อย

บริษัทเรากำลังขยายบริการเกี่ยวกับ โปรดัคชั่น ทรานส์ฟอร์เมชัน (Production DX) และ มานูแฟคเชอริ่ง ทรานส์ฟอร์เมชัน (Manufacturing DX) ที่หลากหลายในตลาดประเทศไทย ในงานจัดแสดงสินค้าครั้งนี้จะขอนำเสนอสินค้าที่เป็นประโยชน์สองตัวจากมุมของการจัดการแบบฟอร์มและการวางแผนการผลิตให้เหมาะสม
สินค้าตัวแรกคือ “i-Reporter” ระบบแปลงเอกสารหน้างานให้เป็นไฟล์ดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท CIMTOPS ซึ่งช่วยป้องกันการป้อนข้อมูลผิดพลาดและลดเวลาสูญเปล่าที่ใช้ในการป้อนข้อมูล ทั้งยังสามารถแปลงเอกสารให้เป็นแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยที่ยังคงรูปแบบการจัดวาง (layout) ที่ใช้งานมาตลอดได้เหมือนกับเอกสารที่เป็นกระดาษทำให้ใช้งานง่ายและสะดวก ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้นถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสินค้าตัวนี้ นอกจากนี้ยังสามารถปรับปรุงคุณภาพการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้โดยนำข้อมูลที่สะสมมาวิเคราะห์ทำความเข้าใจ ซึ่งระบบนี้เป็นระบบที่ดีและมีการนำไปใช้งานในกว่า 3,000 บริษัทในระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา

สินค้าตัวถัดไปคือ “Opcenter” ระบบวางแผนการผลิตที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท SIEMENS ประเทศเยอรมนี มีการนำไปใช้ในบริษัทกว่า 4,000 แห่งทั่วโลก เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น การไม่ได้รับชิ้นส่วนและวัสดุที่จำเป็นในการรับออเดอร์หรือการผลิตเร่งด่วนที่สั่งซื้อไป ซึ่งเหตุการณ์นี้มักพบได้บ่อยในพื้นที่การผลิต ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวการปรับเปลี่ยนแผนการผลิตให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีเพียงผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการวางแผนงานเท่านั้นที่พยายามลงมือแก้ไขปัญหา แต่การแก้ปัญหาเช่นนี้หากนำมาใช้ในประเทศไทยที่มีอัตราการเปลี่ยนงานสูงมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก ในกรณีเช่นนี้ “Opcenter“ ได้มีการทำงานร่วมกับระบบควบคุมการผลิต วางแผนให้ทำงานด้วยระบบกึ่งอัตโนมัติโดยนำแผนงานดั้งเดิมของโรงงานเข้ามาใช้ในระบบ และแสดงผลกระทบของแผนงานที่เสนอให้เห็นได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่แผนการผลิตมีการทบทวนและแก้ไขหลายครั้ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการล็อกดาวน์และการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต

ต่อไปเราขอแนะนำ “Mendix” แพลตฟอร์มการเขียนโค้ดต่ำ (Low-Code Platform) ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท SIEMENS ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันจากภาษาโปรแกรมระดับพื้นฐานหรือไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาโปรแกรมเลย ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถสร้างโปรแกรมที่จำเป็นต้องใช้งานได้เองในทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาในการหาและพิจารณาระบบแพ็คเกจในตลาด โดยปัจจุบันแพลตฟอร์มนี้มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย

คุณวิเคราะห์ตลาดไทยอย่างไร

ตัวผมได้รับมอบหมายให้มาดูแลตลาดไทยเมื่อเจ็ดปีที่แล้ว ซึ่งผมรู้สึกว่าบริษัทส่วนใหญ่ให้ความสนใจแต่กับลักษณะพิเศษของตลาดแรงงานราคาถูก ทำให้ลูกค้าที่นำ IT เข้ามาใช้ในการปรับปรุงพื้นที่การผลิตให้มีประสิทธิภาพนั้นมีจำนวนไม่มาก อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ผมรู้สึกว่าความสนใจในการใช้ประโยชน์จากด้าน IT ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งในบริษัทต่างชาติและบริษัทไทย อาจกล่าวได้ว่าการเจาะตลาดท้องถิ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว และไม่ได้จำกัดเพียงแค่บริษัทญี่ปุ่น คือ กุญแจสำคัญของตลาดไทยในอนาคต

ด้วยเหตุนี้การนำเสนอสิ่งที่ตรงกับลักษณะของตลาดในประเทศไทยจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก การยกรูปแบบกิจกรรมบริษัทต่าง ๆ จากประเทศต้นทาง เช่น ประเทศญี่ปุ่น และพยายามจะทำให้รูปแบบเหล่านี้ได้รับการยอมรับที่ประเทศไทยโดยไม่ปรับเปลี่ยนอะไรเลยนั้น ไม่สามารถทำให้ทุกอย่างดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างกลไกที่เหมาะสมกับประเทศไทยและออกแบบระบบที่เข้ากับลักษณะของคนไทย

อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่ามีบริษัทจำนวนไม่น้อยที่มีความกังวลและไม่รู้ว่าควรจะเริ่มจากจุดไหน ผมจึงหวังว่าทุกคนจะใช้พื้นที่ตรงนี้ในการติดตามข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับ Digital Transformation ในอุตสาหกรรมการผลิตต่อไป

หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ISID กรุณาไปยังหน้า SHOW CASE ด้านล่าง
https://www.jrit-ichi.com/exhibitor/isid/

Related Articles

RECOMMEND