J-Startup

Startups

Leadership

Innovation

Digital

09.02.2022

【J-Startup】อนาคตของการสร้างธุรกิจร่วมกันระหว่างไทยและญี่ปุ่นที่ชื่อว่า “J-Bridge” และ “J-Startup” ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นกำลังให้การส่งเสริมผลักดันอยู่นั้นเป็นอย่างไร?

อนาคตของการสร้างธุรกิจร่วมกันระหว่างไทยและญี่ปุ่นที่ชื่อว่า “J-Bridge” และ “J-Startup” ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นกำลังให้การส่งเสริมผลักดันอยู่นั้นเป็นอย่างไร?

เศรษฐกิจเกิดการหยุดชะงักเนื่องจากโควิด-19 ภาคธุรกิจจึงหันมาใช้เทคโนโลยีปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้องการ (Needs) และคุณค่า (Value) ของการร่วมกันสร้างธุรกิจระหว่างองค์กรข้ามประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในอีกด้านหนึ่ง สำหรับองค์กรก่อตั้งใหม่ องค์กรขนาดกลาง และองค์กรขนาดเล็กจำนวนมาก การประสานงานร่วมมือกันทำงาน รวมถึงการร่วมสร้างธุรกิจกับองค์กรต่างประเทศยังเป็นสิ่งที่ยากมากเช่นเดิม เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านทรัพยากรทางบุคคลและด้านการเงินที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ องค์กรเหล่านี้ต้องการใช้ประโยชน์จากบริการต่าง ๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากภาครัฐ
ตัวอย่างเช่น รัฐบาลไทยแถลงโครงการ “Thailand 4.0” เชิญชวนองค์กรญี่ปุ่นที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยี และให้การสนับสนุนประเทศที่ต้องการเข้ามารุกตลาดในประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง มีทั้งความสง่างามและความมั่งคั่ง

แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าที่ญี่ปุ่นเองก็มีระบบให้การสนับสนุนองค์กรที่ดำเนินการโดยภาครัฐเช่นเดียวกัน? ในครั้งนี้จะขออธิบายเกี่ยวกับ “J-Bridge” และ “J-Startup” ซึ่งสนับสนุนการประสานงาน และร่วมมือการทำธุรกิจกับต่างประเทศให้แก่องค์กรสัญชาติญี่ปุ่น

แพลทฟอร์ม “J-Bridge” ให้การสนับสนุนองค์กรเพื่อผลักดัน DX ในเอเชีย

“Japan Innovation Bridge (รู้จักทั่วไปในชื่อ“J-Bridge ”) ” คือ “แพลตฟอร์มธุรกิจสำหรับการประสานงานและร่วมมือทำธุรกิจระหว่างองค์กรญี่ปุ่นและองค์กรสร้างใหม่ในต่างประเทศโดยมีเอเชียเป็นหลัก” ก่อตั้งขึ้นในหน่วยงานบริหารอิสระ องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) โดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมในปี 2564

“J-Bridge” มุ่งหวังที่จะสนับสนุนนวัตกรรมแบบเปิดระดับสากลที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลขององค์กรญี่ปุ่น โดยตั้งพื้นที่เป้าหมายอันดับแรก ๆ เป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการตั้งเป้าหมายลักษณะองค์กรและสาขาสำคัญดังต่อไปนี้

<สาขาสำคัญ>

  • Carbon neutral
  • Mobility
  • Healthcare
  • เกษตรกรรมและการประมง
  • การค้าปลีก
  • Smart city

<องค์กรเป้าหมาย>

องค์กรที่มุ่งหวังจะประสานงานร่วมมือกับบริษัทสร้างใหม่ในต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือขยายขอบเขตการให้บริการในต่างประเทศ ซึ่งอาจเป็นพื้นที่หรือประเทศเป้าหมาย เป็นต้น

ใน “J-Bridge” นอกจากจะเปิดให้ทุกองค์กรสามารถใช้บริการรวบรวมข้อมูลต่างประเทศได้แล้ว หากสมัครสมาชิกก็จะมีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาทางเว็บไซต์ กิจกรรมเสนอสินค้าและบริการ รวมถึงการพบปะสนทนาร่วมกับองค์กรต่างประเทศผ่านแพลตฟอร์มได้ นอกจากนี้ยังสามารถรับการสนับสนุนรายบุคคลเกี่ยวข้องกับเรื่องของการวางกลยุทธ์ ค้นหาความร่วมมือทางธุรกิจ และสร้างข้อตกลงซื้อขายได้อีกด้วย (*ระบบคัดกรอง)

รากฐานที่ทำให้เกิดการก่อตั้ง “J-Bridge” โดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม คือความมุ่งหวังให้เกิด “การส่งเสริมผลักดัน DX ในเอเชีย”
“Asia DX” เป็นนวัตกรรมข้ามพรมแดนจากการสร้างความร่วมมือระหว่างบริษัทขนาดใหญ่และกิจการสร้างใหม่ในเอเชีย ซึ่งมองปัจจัยทั้งสามประการ ได้แก่ “ผลกระทบและความรุนแรงของปัญหาที่องค์กรและสังคมประสบ” “ความต้องการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล” “สภาพแวดล้อมตลาดที่เป็นมิตรต่อการลงทุน” ที่มีอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียเป็นโอกาสทางธุรกิจ และมุ่งสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่โดยมีบริษัทในท้องถิ่นเป็นพันธมิตรที่ทัดเทียมกัน โดยรวมเงินทุน เทคโนโลยี ความรู้ และเครือข่ายธุรกิจของญี่ปุ่นเข้ากับนวัตกรรมดิจิทัลในท้องถิ่นที่ก้าวหน้า
สำหรับรายละเอียด โปรดเข้าชมเว็บไซต์ “Asia DX Project” ของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (https://www.meti.go.jp/policy/external_economy/adx_project/index.html)

คุณมาเอดะ หัวหน้าสำนักงานนโยบายร่วมสร้างอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชีย กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ซึ่งขึ้นเวทีกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยบริษัท ฯ แสดงความกังวลว่า “ผมรู้สึกว่ามีช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างสิ่งที่คนญี่ปุ่นคิดเกี่ยวกับเอเชีย และสถานการณ์จริงในเอเชีย” พร้อมทั้งกล่าวว่า “ต่อจากนี้ ผมขอสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างคุณค่าใหม่จากการร่วมสร้างธุรกิจ แทนที่จะเลือกเอเชียเป็นปลายทางการผลิตหรือปลายทางการส่งออกเท่านั้น”

นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งหลังของการบรรยาย ท่านได้แนะนำตัวอย่างบางส่วนของการประสานงานร่วมมือกับองค์กรสร้างใหม่ในอาเซียน และเล่าว่าบางองค์กรได้เริ่มร่วมมือกันสร้างธุรกิจแล้ว ไม่เพียงแต่ญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังมีประเทศอื่น ๆ เช่น จีนและสหรัฐอเมริกา ที่ให้ความสนใจในตลาดอาเซียน องค์กรญี่ปุ่นจึงไม่ควรมองข้ามต่อไปเป็นอันขาด ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงประกาศว่าประเทศญี่ปุ่นควรมุ่งเน้นกิจกรรมเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรญี่ปุ่นและอาเซียนให้มากยิ่งขึ้นกว่าที่เคยมีมาผ่านการสนับสนุนอย่างกระตือรือร้นและเอาจริงเอาจัง

“J-Startup” ที่ได้รับการรับรองโดยประเทศญี่ปุ่น

การสนับสนุนองค์กรโดยประเทศญี่ปุ่นเช่นนี้ยังมีในลักษณะอื่นอีก ตั้งแต่ปี 2561 กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมได้ส่งเสริมโปรแกรมที่เรียกว่า “J-Startup” โดยร่วมมือกับ JETRO และ NEDO ซึ่งนี่เป็นโครงการสนับสนุนการพัฒนาองค์กรสร้างใหม่โดยมีวัตถุประสงค์คือการ “สร้างองค์กรสร้างใหม่ที่สามารถต่อสู้ และชนะได้ในระดับโลก รวมถึงนำเสนอคุณค่าใหม่ให้กับโลกด้วยเทคโนโลยี และรูปแบบธุรกิจแนวความคิดแบบก้าวหน้า”

จุดเด่นของโครงการนี้คือการแนะนำองค์กรที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกตัดสินอย่างเข้มงวดโดยนายทุนชั้นนำ accelerator ผู้จัดการนวัตกรรมสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ ผู้สนับสนุนธุรกิจสร้างใหม่ และผู้รับผิดชอบด้านนวัตกรรมขององค์กรขนาดใหญ่ จากองค์กรสร้างใหม่ของญี่ปุ่นจำนวนมากถึง 10,000 แห่ง โดยองค์กรที่ได้รับเลือกในขั้นท้ายที่สุดจะได้รับการรับรองว่าเป็น “องค์กร J-Startup”

นอกจากนี้ “องค์กร J-Startup” จะมีโอกาสเข้าสู่ตลาดต่างประเทศโดยเข้ารับการสนับสนุนการสร้างชุมชนท้องถิ่น เข้ารับการปรึกษา และรับข้อมูลของต่างประเทศที่จะเข้าตลาดจาก JETRO โดยใช้ “JETRO Global Acceleration Hub” และ “Startup Tour” ได้ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 เพิ่งมีการคัดเลือก 50 บริษัทใหม่ และขณะนี้บริษัทเหล่านั้นกำลังได้รับการสนับสนุนเพื่อการขยายธุรกิจไปสู่ต่างประเทศ

ที่ ICHI เองก็มีองค์กรสร้างใหม่ที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้การแนะนำ

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แม้ในประเทศญี่ปุ่น การสนับสนุนการประสานงานร่วมมือทางธุรกิจให้กับองค์กรสร้างใหม่เพื่อให้เกิด DX ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็เริ่มขึ้นแล้วทั่วทั้งประเทศ ซึ่งโปรแกรมสนับสนุนในลักษณะเดียวกันนอกเหนือจาก “J-Bridge” และ “J-Startup” ที่แนะนำไปในครั้งนี้ก็กำลังเพิ่มมากขึ้น

หนึ่งในนั้นคือ “โปรแกรม ADX (Asia DX Program)” โปรแกรมสนับสนุนที่ดำเนินการโดย JETRO และคณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น-อาเซียน (AMEICC) และเป็นโปรแกรมที่ให้การสนับสนุนโครงการนำร่องที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลโดยมีองค์กรในเครือเหล่านี้เป็นตัวกลางระหว่างบริษัทในอาเซียนและบริษัทญี่ปุ่น
เมื่อคุณวาดะ ผู้อำนวยการ JETRO Bangkok และตัวแทน AMEICC ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานโดยบริษัทของเรา ท่านได้แนะนำ 7 กรณีตัวอย่างของ “โปรแกรม ADX” ภายใต้หัวข้อ ” How can Japan collaborate with Thailand in DX “

ในยุคของ With COVID-19 ที่ Digital Transformation เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในทุกๆ ด้านเพื่อดำเนินกิจกรรมขององค์กรต่อจากนี้ไป การทำการปฏิรูปโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีของบริษัทญี่ปุ่นเป็นอีกหนึ่งหนทางที่น่าสนใจไม่ใช่หรือ?

ต่อจากนี้ ICHI จะเผยแพร่เนื้อหาต่าง ๆ เช่น การแนะนำบริการขององค์กร J-startup ซึ่งเป็นที่น่าสนใจ และกรณีตัวอย่างของ DX ในประเทศญี่ปุ่นให้ได้ทราบกัน

SHOW CASE

Related Articles

RECOMMEND