SaaS/Cloud Services

J-Startup

Innovation

SCM, RFID, Logistics

CAD/CAM/CAE

Order and supply

22.08.2022

【J-Startup】ปฏิวัติโครงสร้าง Supply Chain ในแวดวงการผลิตที่ใช้กันต่อเนื่องมายาวนานกว่า 100 ปี ! สนับสนุน ASEAN ด้วยพลังแห่งนวัตกรรม (CADDi Inc.)

ปฏิวัติโครงสร้าง supply chain ในแวดวงการผลิตที่ใช้กันต่อเนื่องมายาวนานกว่า 100 ปี ! สนับสนุน ASEAN ด้วยพลังแห่งนวัตกรรม (CADDi Inc.)

อุตสาหกรรมการผลิตถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีอิทธิพลของญี่ปุ่น สำหรับด้าน supply chain เอง ก็มีธุรกิจสตาร์ทอัพมากมายที่ได้รับความสนใจจากการใช้นวัตกรรมดิจิทัล (digital innovation) และหนึ่งในนั้น คือ “CADDi Inc.”

CADDi Inc. ก่อตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2560 จนถึงปัจจุบันมีสาขาและศูนย์กระจายสินค้าหลายแห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น และได้เริ่มขยายขอบเขตพื้นที่บริการไปสู่ ASEAN โดยก่อตั้งนิติบุคคลขึ้นในประเทศเวียดนาม เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2565 CADDi Inc. จะมีแนวคิดการเริ่มก่อตั้งและดำเนินธุรกิจด้าน supply chain สำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตอย่างไร และให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมแบบใด เราได้มีโอกาสสัมภาษณ์คุณโกโต ริคุ (Goto Riku) ซึ่งเป็นสมาชิกผู้เริ่มก่อตั้งและมีส่วนในการขยายธุรกิจมาสู่ ASEAN ผ่านบริษัทในเวียดนาม และสรุปบทสัมภาษณ์เหล่านั้นมาฝากกัน

1. “การปฏิวัติ supply chain คือ การปฏิวัติการบริหารกิจการ”

CADDi Inc. คิดว่า “การปฏิวัติ supply chain คือ การปฏิวัติการบริหารกิจการ” เหตุผลหนึ่งก็คือ ยอดการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตมีผลกระทบจาก “supply chain” อยู่มาก ยอดการผลิตของอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศญี่ปุ่นมีมูลค่าถึง 180 ล้านล้านเยน ซึ่งในมูลค่านี้ สาย supply chain มีสัดส่วนสูงสุดถึง 120 ล้านล้านเยน

นอกจากนี้ ในกระบวนการ “การออกแบบ” “supply chain” “การผลิต” “การจำหน่าย” ในภาคการผลิต สาขาเดียวที่ตลอดกว่า 100 ปีที่ผ่านมาไม่มีการนำนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้ ก็คือ “supply chain” ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลของการปฏิวัติเปลี่ยนแปลง supply chain ในขณะที่ด้านอื่น ๆ มีการปรับใช้ดิจิทัลในการทำงาน เช่น “การออกแบบ” มีการทำ CAD/CAE มาใช้ “การผลิต” ก็มีการนำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์เข้ามาใช้ ในการขายก็ใช้ประโยชน์จาก AI และ Big Data แต่ด้าน supply chain นั้นยังคงใช้โครงสร้างแบบเดิมที่ใช้กันมานานกว่า 100 ปี

จากการสัมภาษณ์กับคุณโกโต ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ supply chain ของญี่ปุ่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง สาเหตุหนึ่งก็เพราะ “โครงสร้างพีระมิดรับช่วง” ของฝ่าย supplier และฝ่าย supply chain

ฝ่าย supplier ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วน ส่วนใหญ่แล้วเป็นองค์กรธุรกิจขนาดย่อมที่มีจำนวนพนักงานไม่เกิน 9 คน เนื่องจากจำนวนคนที่จำกัดทำให้ชิ้นส่วนสำหรับการผลิตที่สามารถแสดงจุดเด่นของตนเองออกมาก็มีจำนวนจำกัดไปด้วย ดังนั้นจึงมีหลายกรณีที่ยอดขายขึ้นอยู่กับ supply chain จำเพาะ และเพื่อที่จะรักษายอดขายรวมถึงความสัมพันธ์กับฝ่าย supply chain จึงมีหลายกรณีที่ยอมรับงานผลิตชิ้นส่วนที่ทำด้วยบริษัทของตนเองได้ยาก โครงสร้างการสั่งซื้อแบบนี้เรียกว่า “โครงสร้างพีระมิดรับช่วง”

สำหรับฝ่าย supply chain เอง ความจริงแล้วก็ควรจะสั่งซื้อชิ้นส่วนแยกตามความถนัดของ supplier เป็นชิ้น ๆ ไป แต่เนื่องจาก supplier ส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นเป็นธุรกิจขนาดย่อม ทำให้ความถนัดของแต่ละโรงงานยิ่งแตกแยกย่อยออกไป จนข้อมูลด้านความเชี่ยวชาญความถนัดนั้นไม่ได้ถูกรวบรวมเป็นก้อนเดียวและกลายสภาพเป็นเสมือนกล่องดำ โดยเฉพาะสำหรับรายที่สั่งชิ้นส่วนหลักหลายหมื่นชนิดเป็นล็อตเล็ก ๆ กล่าวคือ ฝ่ายจัดหา supplier “ปริมาณน้อยหลายชนิด” อย่างการผลิตรถไฟหรือเครื่องบิน จำนวนกระบวนการต่อชิ้นส่วนหนึ่งชิ้นมีจำกัด จึงมีปัญหาสำคัญคือ ไม่มีกำลังเหลือพอที่จะปรับใช้ supply chain ให้มีประสิทธิภาพที่สุด
“เราอยากจะแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีมานานในภาคการผลิตเช่นนี้ด้วยกลไก และทำให้ผู้เล่นแต่ละคนที่ทำงานอยู่ในภาคการผลิตสามารถปลดปล่อยและแสดงศักยภาพที่มีอยู่ออกมาได้ CADDi เราเกิดมาด้วยความคิดเช่นนี้ครับ” (คุณโกโต)

2. การทำ Digital Transformation ในธุรกิจด้าน “supply chain” ซึ่งยึดติดกับรูปแบบเดิม ๆ มานานกว่า 100 ปี

CADDi Inc. มีพันธกิจ (mission) คือ “การปลดปล่อยศักยภาพของการผลิต (Unleash the potential of manufacturing) โดยปัจจุบันเราใช้แพลตฟอร์มสั่งสินค้า “CADDi” และการบริการข้อมูลดรอว์อิ้งค์ (แบบร่าง) ในรูปแบบคลาวด์ “CADDi DRAWER” เป็นแกนหลักในการให้การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของภาคการผลิต

“CADDi” คือ บริการที่ CADDi Inc. จะรับข้อมูลดรอว์อิ้งค์จากผู้ผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรมหรือแบรนด์เมกเกอร์มา จากนั้นคัดเลือกบริษัทพันธมิตรที่เหมาะสมที่สุดทั้งคุณภาพ การจัดส่งงาน และราคา ผ่านระบบคัดเลือกผู้รับงานอัตโนมัติ โดยทาง CADDi Inc. จะเป็นผู้วางโครงสร้าง supply chain ที่เหมาะสมที่สุด และรับผิดชอบในการตรวจสอบ รับรองคุณภาพ ไปจนถึงจัดส่งสินค้า การที่ CADDi Inc. เข้ามารับช่วงความรับผิดชอบในลักษณะ one-stop จะทำให้สามารถลดต้นทุนการซื้อขายสินค้าเหล่านั้นได้

ด้วยการรับดรอว์อิ้งค์จากผู้ผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้สั่งงาน และคัดเลือกบริษัทพันธมิตรโดยอาศัยหลากหลายปัจจัย อาทิ “การวิเคราะห์แบบร่าง” “การคำนวณต้นทุน” จึงสามารถนำส่งสินค้าที่มี QCD (Quality Cost Delivery) เหมาะสมที่สุดได้

“CADDI DRAWER” คือบริการผ่านระบบคลาวด์ที่สามารถดึงข้อมูลเกี่ยวกับ “แบบร่าง” ของฝ่าย supplier ออกมาโดยอัตโนมัติ และแปลงเป็นฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการค้นหาได้ เป็นการใช้เทคโนโลยี AI ในการสร้างมูลค่าสินทรัพย์ใหม่ให้กับแบบร่างซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยถูกใช้เป็นสินทรัพย์มาก่อน

3. วัฒนธรรมของ CADDi ที่ให้ความสำคัญกับหน้างานการผลิต เพื่อทำพันธกิจให้เป็นจริง

การจะสร้างแนวคิดใหม่ให้กับ supply chain ในอุตสาหกรรมการผลิตที่ผูกติดกับรูปแบบโบราณมานานกว่า 100 ปี เป็นเรื่องที่ยากลำบากไม่น้อย แต่เพราะเหตุใด CADDi Inc. จึงสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ได้ เบื้องหลังนั้นมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของ CADDi Inc.

“CADDi นั้นตั้งแต่แรกเริ่มก็มีวัฒนธรรมไม่หวั่นในการลงทุนเพื่อพันธกิจ “การปลดปล่อยศักยภาพของการผลิต” และทำให้รับรู้คุณค่า (Value) ทั่วกันทั้งองค์กร นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่ไม่ยึดติดกับความเป็นญี่ปุ่น โดยตั้งแต่ก่อนจะเริ่มกิจการในต่างประเทศ ก็สร้างวัฒนธรรมองค์กรอย่างเช่น การจัดทำเอกสารฉบับภาษาอังกฤษ และดำเนินการต่าง ๆ โดยเล็งถึงการขยายกิจการไปสู่ระดับโลก (Global) ในการจ้างงานก็เช่นกัน เราสร้างบริษัทให้มีความเสมอภาค(Flat) คือ ขอแค่เห็นพ้องกับพันธกิจ (Mission) ของ CADDi คนที่สร้างผลงานจะได้รับการยอมรับโดยไม่เกี่ยงเชื้อชาติ เพศ หรือศาสนา ปัจจุบันเราทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ชาวรัสเซีย อเมริกา เวียดนาม แล้วก็ไทยด้วย” (คุณโกโต)

วัฒนธรรมเพื่อบรรลุพันธกิจ (Mission) เช่นนี้ ก็ปรากฏในการคอมมิต (Commit) อย่างเข้มข้นกับโรงงานซึ่งเป็น supplier ด้วย เวลาที่ CADDi Inc. รวบรวมข้อมูลของ supplier จะเดินทางไปยังโรงงานและพูดคุยกับผู้บริหารโดยตรงเสมอ นอกจากนี้ เพื่อดึงเอาจุดเด่นหรือความถนัดของโรงงานนั้นออกมา ยังทำการรวบรวมข้อมูลหลายพันรายการ ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐานอย่างเครื่องจักรที่มี วัสดุที่สามารถรองรับได้ ไปจนถึง QCD อย่างผลประกอบการหรือระบบการบริหารจัดการ และแปลงเป็นฐานข้อมูลด้วย

“เพราะคนที่เป็นคนสร้างของขึ้นมา คือ บริษัทแปรรูปผลิตภัณฑ์ ถึงอยู่ที่ออฟฟิศไปก็ไม่ได้งานครับ ต่อให้พวกผมสร้างแพลตฟอร์มขึ้นมาดีแค่ไหน แต่ผู้ใช้ก็คือผู้ที่อยู่หน้างานเป็นสเตกโฮลเดอร์ (stake holder) เพื่อเป้าหมายร่วมกันคือ การทำให้ภาคการผลิตแสดงศักยภาพออกมาได้สูงสุด บางครั้งเราก็ต้องไปประจำอยู่ที่ฝ่าย supplier และทำงานตั้งแต่เช้าถึงเย็นเหมือนกันกับพนักงานของบริษัทนั้น วัฒนธรรมแบบนี้ที่มีมาตั้งแต่ CADDi ก่อตั้ง จะไม่เปลี่ยนแม้อีกฝ่ายจะเป็นบริษัทของไทยหรือประเทศ ASEAN อื่น ๆ”

คุณโกโต ริคุ ผู้จัดการผ่านส่งเสริมพันธมิตร สำนักงานใหญ่สนับสนุนการผลิต CADDi Inc. คุณโกโตซึ่งเคยมาศึกษาที่ประเทศไทย เลือกมหาวิทยาลัยขอนแก่นแทนที่จะเลือกมหาวิทยาลัยในเมืองหลวงด้วยเหตุผลว่า “ที่ลูกค้าอยู่คือต่างจังหวัด ไม่เพียงแค่เรียนรู้วัฒนธรรมของต่างจังหวัดเท่านั้น การได้มีโอกาสอาศัยอยู่จริงก็สำคัญ” ระหว่างศึกษาที่ไทย เคยออกบวชเพื่อเข้าใจลักษณะที่แท้จริงของคนไทย “เพราะคิดว่าถ้าไม่คอมมิตขนาดนั้น คงมองไม่เห็นความเป็นจริงของหน้างานจริงได้น่ะครับ” (คุณโกโต)

4. เป้าหมายคือการเป็นแพลตฟอร์มสั่งสินค้าระดับโลกมูลค่า 1 ล้านล้านเยนภายในปี พ.ศ. 2573

จากการพูดคุยกับคุณโกโตซึ่งได้ทำธุรกิจใน ASEAN จริง ดูเหมือนว่าคุณโกโตจะรู้สึกว่า ประเทศในกลุ่ม ASEAN ซึ่งมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จะมีวิธีคิด (Mindset) ที่จะท้าทายกับนวัตกรรม (Innovation) ของโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตค่อนข้างชัดเจน

“หากดูเป็นระยะสั้น 1-2 ปี คิดว่าฝ่าย supplier ก็คงรักษาโครงสร้างแบบที่ผ่านมาไว้ระดับหนึ่ง ฝ่าย supply chain เองก็อาจจะไม่ได้อยู่ในสภาวะที่จำเป็นต้องการปฏิรูปทันที แต่หากมองไปที่ระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ด้วยโครงสร้างแบบเดิมอาจจะไปต่อไม่ได้ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้การทำงานระยะไกล (Remote) และประสิทธิภาพในการทำงานยิ่งถูกให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น มีสเตกโฮลเดอร์ที่อยากจะพูดคุยกับ CADDi เพื่อทบทวนตั้งแต่ระดับการบริหารเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศครับ” (คุณโกโต)

CADDi Inc. มีเป้าหมายคือการเป็นแพลตฟอร์มสั่งสินค้าระดับโลกมูลค่า 1 ล้านล้านเยนภายในปี พ.ศ.2573 โดยจะผลักดันการสร้างมูลค่าสินทรัพย์ให้กับอุตสาหกรรมการผลิต ในฐานะผู้นำเสนอโซลูชั่นสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้ประโยชน์ (leverage) จากข้อมูล และยังกระตือรือร้นในการขยายธุรกิจใน ASEAN โดยเริ่มแสวงหาคู่ค้ารายใหม่และพิจารณาการจัดตั้งนิติบุคคลท้องถิ่นด้วย

สุดท้ายนี้ ผมขอฝากข้อความถึงชาวไทยทุกท่าน

“ที่ผมอยากจะสื่อที่สุดก็คือ “มาปลดปล่อยศักยภาพของวงการผลิตไปด้วยกัน” นะครับ ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ประเทศหนึ่ง ผมหวังที่จะได้เป็นพันธมิตรกับชาวไทยทุกท่านที่แม้จะมีทักษะและความสามารถ แต่ด้วยกำแพงภาษาและอื่น ๆ อาจทำให้ไม่สามารถทำธุรกิจในระดับโลกได้ หากรู้สึกสนใจในพันธกิจ (Mission) และคุณค่าของ CADDi แม้เพียงเล็กน้อย ก็อยากให้ติดต่อมานะครับ” (คุณโกโต)

หากท่านใดสนใจแอปพลิเคชัน CADDi สามารถติดต่อได้ที่รายละเอียดด้านล่างนี้

Show Case

RELATED ARTICLES

RECOMMEND