BabyTech
COVID-19
J-Startup
Innovation
08.03.2022
สัมภาษณ์บริษัท J-Startup – “เติมคุณค่าให้ครอบครัวทั่วโลกด้วยพลังของเทคโนโลยี” UniFa lnc.
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การทำงานระยะไกล และ Digitalization ได้ถูกพัฒนาเป็นอย่างมากในทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก รวมถึงมูลค่าและศักยภาพของการทำงาน โดยใช้ความร่วมมือข้ามพรมแดนระหว่างบริษัทต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกัน การค้นหาบริษัทในต่างประเทศที่น่าเชื่อถือ และมีศักยภาพที่ควรค่าแก่การร่วมมือทำงานด้วยจริง อาจเป็นงานที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากอุปสรรคด้านภาษาและวัฒนธรรม
ในกรณีเช่นนี้ ทางเราขอแนะนำวิธีการ “ค้นหาบริษัทจากรายชื่อบริษัทที่ได้รับการรับรองในระดับประเทศ” สำหรับที่ประเทศญี่ปุ่น กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมได้เริ่มโครงการสนับสนุนบริษัทสตาร์ทอัพโดยใช้ชื่อว่า “J-Startup” ในปี 2018 โครงการนี้ มีบริษัทสตาร์ทอัพญี่ปุ่นประมาณ 10,000 รายที่ผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มงวด และ “ได้รับการรับรองในระดับประเทศ” ทั้งยังได้รับการตั้งชื่อเป็นบริษัท “J-Startup (*)”
*ลิงก์รายชื่อบริษัท J-Starup (ภาษาอังกฤษ): https://www.j-startup.go.jp/en/startups/
ในครั้งนี้ทางเราได้มีโอกาสสัมภาษณ์คุณ Toki Yasuyuki CEO ของ “UniFa Inc.” (ลิงก์เว็บไซต์ (ภาษาญี่ปุ่น): https://unifa-e.com/) หนึ่งในบริษัท J-Startup ที่ได้รับการรับรองในระดับประเทศ
คุณToki Yasuyuki CEO ของ UniFa Inc. คุณ Toki เองบอกว่าเขาเคยมีช่วงที่เขาลาออกจากงานเพื่อเอาเวลามาเลี้ยงลูก เพราะการทำงานนอกบ้านทั้งฝ่ายสามีและภรรยานั้นอาจทำให้การเลี้ยงลูกไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ “ผมจึงได้ตัดสินใจที่จะมอบความรักที่ได้รับจากครอบครัวของผมให้กับครอบครัวทั่วโลก และสนับสนุนครอบครัวทั่วโลกครับ ซึ่งนี่เป็นสาเหตุที่มาของการเริ่มต้นธุรกิจนี้ขึ้น” (คุณ Toki)
DX สำหรับสถานรับเลี้ยงเด็ก
UniFa Inc. สนับสนุน DX สำหรับสถานรับเลี้ยงเด็กด้วยเทคโนโลยี ภายใต้สโลแกน “สร้างโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมแบบใหม่ เพื่อสร้างความสุขให้กับครอบครัวทั่วโลก”
UniFa ได้รับการประเมินระดับสูงด้านการดำเนินการ นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2013 และในปี 2017 บริษัทได้รับรางวัลชนะเลิศจากงาน Startup World Cup ครั้งที่ 1 (*) (สนับสนุนโดยบริษัท PEGASUS TECH VENTURES) ที่ซึ่งมีบริษัทสตาร์ทอัพ จำนวนกว่า 10,000 รายจากทั่วทุกมุมโลกเข้าร่วม และบริษัทแห่งนี้ก็ยังเป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพญี่ปุ่นที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลกอีกด้วย
*ลิงก์ Startup World Cup (ภาษาอังกฤษ):https://www.startupworldcup.io/sucess-stories
ภาพในขณะที่บริษัท Apple ชนะรางวัลในงาน Startup World Cup ครั้งที่ 1 ซึ่งผู้ร่วมก่อตั้ง Steve Wozniak ได้รับการยกย่องจากความเป็นเอกลักษณ์ของ “Smart Nursery Kindergarten Childcare Center Idea” (มีอธิบายในด้านล่าง)
ปัจจุบันในประเทศญี่ปุ่น ปัญหาการขาดแคลนผู้ดูแลเด็กกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีผู้ปกครองจำนวนมากที่ขอให้ผู้ดูแลเหล่านี้ดำเนินการติดตามกิจกรรมประจำวันของเด็ก ๆ ที่เข้ามาในสถานรับเลี้ยงเด็กอีกด้วย
บริการหลักของ UniFa ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาในสถานรับเลี้ยงเด็กคือ “LookMee” ซึ่งเป็นบริการ ICT ที่ครอบคลุมสำหรับสถานรับเลี้ยงเด็ก
หากกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ก็จะประกอบด้วย 3 รายการ 12 ผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้มีให้ในแบบ All-in-one
เวลาที่ถ่ายภาพด้วยสมาร์ทโฟน ภาพนั้นจะถูกอัปโหลดให้โดยอัตโนมัติในระบบ ซึ่งผู้ปกครองจะสามารถดูรูปภาพโดยการจดจำใบหน้าในแอปพลิเคชัน และสามารถซื้อเป็นข้อมูลหรือพิมพ์ออกมาได้
ในสถานรับเลี้ยงเด็กของญี่ปุ่น เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กหายใจไม่ออกในขณะนอนคว่ำระหว่างหลับกลางวัน บริการของเราจะช่วยบันทึกรายการเหล่านี้โดยอัตโนมัติทุก 5 นาที บนแท็บเล็ตเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ และในกรณีที่เด็กยังคงนอนคว่ำอยู่ เสียงออดจะดังขึ้น ซึ่งหมายความว่าคุณจะสามารถเฝ้าดูแลบุตรหลานได้ด้วย “ตามนุษย์” และ “อุปกรณ์ทางการแพทย์” ในเวลาเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังสามารถบันทึกและสร้างกราฟการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนาได้ในแอปพลิเคชันโดยผ่านการใช้เซ็นเซอร์
การจัดการข้อมูลทั้งหมด เช่น สมุดติดต่อ แบบฟอร์ม บันทึกการเข้า/ออก ตารางเวร เป็นต้น จะถูกแปลงเป็นดิจิทัลเพื่อลดภาระของผู้ปกครอง
บริการ LookMee นี้ช่วยให้ภาระงานของสถานรับเลี้ยงเด็กหลายแห่งลดลง และในบางกรณีทำให้ลดลงถึง 120-130 ชั่วโมง ซึ่งคิดเป็น 65% ของชั่วโมงทำงานต่อเดือน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการใช้บริการนี้จะช่วยสร้างชั่วโมงการทำงาน เหมือนกับได้เจ้าหน้าที่ดูแลเด็กเพิ่มมาใหม่หนึ่งคนครับ
มีส่วนร่วมในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาผ่านการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน
คุณ Toki กล่าวว่าการสนับสนุน DX ของสถานรับเลี้ยงเด็กที่ UniFa มีให้บริการนั้นเป็นมากกว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน
“การเข้าใจสถานการณ์ของเด็กผ่านวิธีในปัจจุบันและการใช้ดิจิทัลเข้ามาช่วยจะไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มเวลาให้กับผู้ดูแลและครูเท่านั้น แต่ยังช่วยฟื้นฟูจิตใจได้อีกด้วย และด้วยวิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถถ่ายรูปได้ง่ายขึ้น สามารถคืนสินค้าบางส่วนให้กับสถานรับเลี้ยงเด็กได้ และแน่นอนเวลาที่คุณสามารถใช้กับเด็ก ๆ ก็จะมากขึ้นไปด้วย ซึ่งผมคิดว่าจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในที่สุดครับ” (คุณ Toki)
นอกจากนี้ จากมุมมองของการป้องกันการติดเชื้อของไวรัสโคโรนา การจัดการข้อมูลต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามาแทนการใช้สมุดบันทึกที่ต้องเขียนด้วยมือและอื่น ๆ คาดว่าจะมีส่วนในการสนับสนุนความต้องการ “สร้างสังคมที่ไร้การสัมผัส” ครับ
สนับสนุนครอบครัวทั่วโลกด้วยพลังของเทคโนโลยี
คุณ Toki กล่าวว่า “ยังคงมีประเด็นต่าง ๆ มากมายทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็ก” และปัจจุบันมีความสนใจที่จะขยายธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย
สำหรับเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อดูแลเด็กระหว่างหลับกลางวัน ทางบริษัทได้รับคำขอ จากสถานรับเลี้ยงเด็กในสิงคโปร์ และมีประวัติการทดลองสาธิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ทางบริษัทยังได้ทำการวิจัยตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย เพื่อค้นหาจำนวนเด็ก และสถานรับเลี้ยงเด็กในประเทศไทย ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
“ผมเชื่อว่าสิ่งที่ทั่วโลกคงจะเป็นเหมือนกันคือ การที่จะสามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้นั้นขึ้นอยู่กับสุขภาพที่ดีของเด็กและการจินตนาการของเด็กในเรื่องที่ตนให้ความสนใจ ด้วยเหตุนี้ ทางเราจึงกำลังส่งเสริมเสถียรภาพให้กับแพลตฟอร์มที่เรากำลังให้บริการอยู่ครับ” (คุณ Toki)
ปัจจุบัน บริษัทจัดการดูแลสถานรับเลี้ยงเด็กของญี่ปุ่นได้มีการดำเนินการในประเทศไทย เวียดนาม และอินโดนีเซียแล้ว อีกไม่นานคาดว่าน่าจะทำการ DX สถานที่เหล่านั้น และสุดท้ายนี้ ทางเราได้ถามคุณ Toki เกี่ยวกับแนวโน้มการขยายธุรกิจในต่างประเทศในอนาคต
“ไม่มีบริษัทใดในโลกที่มีฐานข้อมูลที่มั่นคงในด้านข้อมูลสำคัญของเด็กและข้อมูลทางการศึกษา นอกจากนี้ ปัจจุบันก็ยังไม่มี AI ที่ในด้านการดูแลเด็ก ซึ่งเท่านี้ก็ถือว่าเป็นความท้าทายของทางเราแล้ว และทางเราก็อยากจะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่ไม่ได้มีแค่ในญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทั่วโลกผ่านธุรกิจเหล่านี้ครับ” (คุณ Toki)
【SHOW CASE for J-Startup】
บทความนี้เขียนจากการสัมภาษณ์ นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มุ่งถ่ายทอดจุดเน้น เจตนารมณ์ ตลอดจนหลักคิดของกฎหมาย เพื่อสร้างความเข้าใจ และคลายความกังวลให้แก่องค์กรธุรกิจ โดยคาดหวังว่า หลังจากกฎหมายบังคับใช้จะสร้างสมดุลด้านการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในสังคมไทย หากทุกฝ่ายเกิดความตระหนักและเข้าใจตรงกัน นั่นคือ ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
01.04.2022
1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในมาตราที่เลื่อนการบังคับใช้ออกมา 2 ปี จะเริ่มมีผล แม้จะเหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่เดือน แต่ก็สามารถเร่งดำเนินการให้องค์กรปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ได้ไม่ยาก โดย นายกำพล ศรธนะรัตน์ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Protection Officer (DPO) และที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และประธานชมรม DPO ได้ให้หลักการ แนวทาง ตลอดจนขั้นตอนการปฏิบัติ ไว้ในที่นี้
20.04.2022
ปัจจุบันเรื่องของกฎหมาย พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) มีบทบาท และเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งทุกองค์กรจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และนำไปปรับใช้ภายในองค์กรอย่างเหมาะสม โดยการนำไปใช้ในองค์กรให้เหมาะสมนั้น มีหลากหลายมิติที่หลายฝ่ายในองค์กรจำเป็นที่จะต้องหาทางออกร่วมกัน เพื่อนำหลักกฎหมาย PDPA ไปใช้อย่างถูกต้อง และเกิดประโยชน์สูงสุด
05.05.2022