COVID-19

J-Startup

Startups

Leadership

Innovation

Digital

02.03.2022

【J-Startup】กลยุทธ์ทางธุรกิจในอนาคตของ 5 บริษัทไทยในปี 2565 และความต้องการที่จะร่วมสร้างผลงานและร่วมงานกับเหล่าสตาร์ทอัพ

กลยุทธ์ทางธุรกิจในอนาคตของ 5 บริษัทไทยในปี 2565 และความต้องการที่จะร่วมสร้างผลงานและร่วมงานกับเหล่าสตาร์ทอัพ

เศรษฐกิจประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19 และผลกระทบดังกล่าวนั้นยาวนานต่อเนื่อง เจ้าของธุรกิจหลายรายจึงมองหาหนทางที่จะฟื้นฟูธุรกิจของตนหลังโควิด-19 ด้วยเหตุนี้ การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นดิจิทัล (DX) จึงจำเป็นสำหรับการเติบโตทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของเจ้าของธุรกิจชาวไทย เราจึงได้เตรียมประเภทขององค์ความรู้และ digital solutions ที่กว้างยิ่งขึ้น และ กำลังปฏิบัติการบนสื่อ DX ในประเทศไทย ที่เรียกว่า ICHI ภายใต้แนวคิด “Inspire your Business with Digital”

หัวข้อในครั้งนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “J-Startup” ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มโดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) ของประเทศญี่ปุ่น องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) และองค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (NEDO) เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ร่วมกันระหว่างสตาร์ทอัพญี่ปุ่นและบริษัทท้องถิ่นในต่างประเทศ

เราหวังว่าโครงการนี้จะช่วยเปิดทางให้สตาร์ทอัพญี่ปุ่นและเทคโนโลยีของพวกเขาได้รู้จักกับบริษัทไทย รวมถึงช่วยให้ผู้รับชมได้เข้าใจวิสัยทัศน์ของตลาดไทยเกี่ยวกับอนาคตของธุรกิจพวกเขาเป็นอย่างไร

เราได้ติดต่อไปยัง 5 บริษัทชั้นนำของไทย ซึ่งล้วนมาจากภาคส่วนที่ต่างกัน และได้เขียนบทความจากแบบสำรวจที่เราได้ทำไปเพื่อเข้าใจกลยุทธ์ทางธุรกิจในอนาคต รวมถึงความต้องการในการร่วมงานกับสตาร์ทอัพผ่าน “นวัตกรรมแบบเปิด” ที่หมายถึง รูปแบบการจัดการธุรกิจสำหรับนวัตกรรมที่ส่งเสริมการทำงานร่วมกันกับผู้คนและองค์กรระหว่างผู้เล่นทั้งภายในและภายนอก

โควิด-19 กระทบธุรกิจต่าง ๆ ทำให้ต้องทบทวนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ต้องโฟกัสที่การทำให้องค์กรเดินไปในทางเดียวกันอย่างชัดเจน และสร้างวิธีคิดแบบ agile เพื่อปรับสู่ตลาดที่ไม่มีความแน่นอน

ถึงแม้โควิด-19 จะส่งผลเชิงลบต่อธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลก แต่ไวรัสดังกล่าวยังมอบบทเรียนล้ำค่าให้เราว่าจะรับมือและประสบความสำเร็จได้อย่างไรในสภาวะที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เข้าร่วมของเราค่อนข้างมองผลกระทบต่อธุรกิจพวกเขาในเชิงบวกด้วยเหตุผลหลายประการ 3 ใน 5 บริษัทกล่าวว่าโควิด-19 ได้ ส่งผลดี ต่อธุรกิจของพวกเขา ตามที่เล่าคือธุรกิจเติบโตได้ดี และ/หรือเกิดธุรกิจใหม่ ๆ ในช่วงโควิด-19

ทบทวนกลยุทธ์ธุรกิจ

ขณะที่ตลาดเปลี่ยนแบบหน้ามือเป็นหลังมือในช่วงโควิด-19 ทพ. ฐิติ ชนะภัย ผู้ช่วยกรรมการกลุ่มโรงพยาบาลสินแพทย์ ได้กล่าวว่า “กลยุทธ์ได้เปลี่ยนจากมุ่งเน้นการรักษาโรคที่ซับซ้อนเป็นการรักษาโรคหลังโควิดและการส่งเสริมสุขภาพ” จึงต้องมีการปรับกลยุทธ์ และ “เพื่อให้ได้บรรลุตามเป้า เราควรเก็บข้อมูลคนไข้โควิดที่รักษาตัวที่โรงพยาบาล เพื่อสื่อสารและติดตาม และลงทุนในอุปกรณ์ใหม่ ๆ” ดังนั้น โรงพยาบาลจึงสามารถเปลี่ยนกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็วโดยมุ่งเน้นลูกค้าเดิมแทนที่จะเป็นลูกค้าใหม่ เพื่อคงปริมาณและการการเติบโตทางธุรกิจ กลยุทธ์ธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นปัจจุบันตามสถานการณ์ และจะทำได้สำเร็จก็ต่อเมื่อเข้าใจพฤติกรรมใหม่ของลูกค้า และสร้างคุณค่าใหม่ ๆ เพื่อต่อสู้กับผลกระทบระยะยาวของโรคระบาด”

โฟกัสที่การทำให้องค์กรเดินไปในทางเดียวกันอย่างชัดเจน

นอกเหนือจากกลยุทธ์ธุรกิจแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและความสอดคล้องภายในองค์กร ผู้เข้าร่วมของเราบางท่านมีโฟกัสกลยุทธ์ธุรกิจที่ชัดเจนอย่างยิ่งในปี 2565 และมีวิธีทำให้กลยุทธ์นั้นสำเร็จได้ ตามที่คุณจิรุตถ์ วัดตูม ผู้จัดการ Strategy and Partnership ที่ SCG Chemicals ได้กล่าวไว้ว่า “เรามีโฟกัสที่ชัดเจนในการย้าย portfolio ไปสู่ด้านเคมีอย่างยั่งยืน ซึ่งจะรวมถึงเศรษฐกิจหมุนเวียน (การนำพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำ) วัสดุหมุนเวียนและชีวภาพ การลดการปล่อยคาร์บอนก็เป็นอีกด้านหนึ่งที่เราจะโฟกัส เรากำลังพยายามพัฒนาหรือหาความร่วมมือในการสร้างความก้าวหน้าใหม่ด้านการดักจับคาร์บอนและการใช้คาร์บอนไดออกไซด์” นอกจากนี้ คุณคริษฐ์ ศุภวัฒนกุล กล่าวเสริมต่อว่า “เราสามารถปิดดีลต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น และเราสามารถศึกษาค้นคว้าในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อไปถึงความเร็วที่ตั้งใจไว้ได้ดียิ่งขึ้น” การมีโฟกัสที่ชัดเจนและความสอดคล้องกันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถจัดสรรจำนวนทรัพยากรได้เหมาะสม พร้อมกับสร้างบทบาทที่ชัดเจนให้สมาชิกในทีมทุกคนได้ทำงานอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ

การสร้างวิธีคิดแบบรวดเร็ว(Agile)

ในทางกลับกัน สำหรับผู้เข้าร่วม 2 ใน 5 คน ที่มองว่าธุรกิจได้รับผลกระทบเล็กน้อยในช่วงโควิด-19 พวกเขากล่าวถึงความสำคัญของการสร้างวิธีคิดแบบ agile ในหมู่พนักงานให้ยืดหยุ่นปรับตัวเร็วในสถานการณ์ที่นอกเหนือไปจากโควิด-คุณ ภัทร์ สรรพอาษา ผู้จัดการอาวุโสด้านกลยุทธ์องค์กร บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวว่า “เราคาดการณ์ถึงความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่ได้เกิดขึ้นในปีนี้ และได้ทำการปรับกลยุทธ์ในการทำงานให้มีความคล่องตัวมากขึ้น” นอกจากนี้ คุณจิรการณ์ วงศ์ทรรศี ผู้จัดการ – ดิจิทัล โค้ช ที่บ้านปู กล่าวว่า บ้านปูได้เริ่มโครงการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลมาตั้งแต่ปี 2561 เพื่อสร้างแนวคิดแบบรวดเร็ว (Agile) ภายในองค์กร และพัฒนาความสามารถทางดิจิทัลในกลุ่มพนักงานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตหลังโควิด การสร้างวัฒนธรรมที่รวดเร็วและมีนวัตกรรม เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการที่บริษัทแห่งหนึ่งจะเติบโตธุรกิจในอนาคตได้

ผู้เข้าร่วมทุกคนต่างมองหาพันธมิตรด้าน digital solution และเทคนิคที่สามารถร่วมสร้าง และทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจใหม่

จากการสำรวจ บริษัททั้งหมดเข้าใจความหมายและความสำคัญของการทำงานร่วมกับบริษัทอื่น ๆ เพื่อธุรกิจของตน ดร. จิรุตถ์ วัดตูม ได้กล่าวว่า “SCGC นั้นเปิดกว้างมากในการทำงานร่วมกับพันธมิตรภายนอกด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การร่วมกันศึกษาค้นคว้า การลงทุนแบบ VC หรือธุรกิจการร่วมลงทุน การควบรวมกิจการ (M&A) SCGC ยังสนใจสร้างพันธมิตรที่มีเทคโนโลยีและอยากจะขยายผลิตภัณฑ์หรือบริการเข้ามายังประเทศไทยหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” สำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร คุณ ภัทร์ สรรพอาษา ได้กล่าวว่า ว่า “เรามีความมุ่งมั่นที่จะค้นหาและร่วมงานกับบริษัทต่างๆ ที่มีศักยภาพมาร่วมสร้าง solutions และแพลตฟอร์มที่ไม่เหมือนใครกับเรา เพื่อมาจัดการความท้าทายต่างๆที่เกิดขึ้นในภาคการเกษตรและอาหารในปัจจุบัน”

นวัตกรรมแบบเปิดนั้นจำเป็นต่อการรับมือกับเหตุการณ์โรคระบาด พร้อมกับการบรรลุแผนกลยุทธ์ของพวกเขา ผู้เข้าร่วมทุกคนยังเชื่อด้วยว่าองค์กรของแต่ละคนนั้นตระหนักรู้ว่าอะไรคือสิ่งจำเป็น และพร้อมที่จะประสานกับบริษัทอื่น ๆ ดังที่คุณคริษฐ์ ศุภวัฒนกุล กล่าวว่า “ระยะหลังเราทำงานร่วมกับบริษัท Tech อยู่เสมอ หากพวกเขาต้องการสร้าง solutions ร่วมกับ SCB” คุณ จิรการณ์ วงศ์ทรรศี ยังกล่าวด้วยว่าพวกเขาได้ “เริ่มทำ POC และ MVP จำนวนมากกับสตาร์ทอัพ” ในอดีต

การพยายามสร้างความแตกต่างจากบริษัทอื่น ๆ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกบริษัทที่เข้าร่วม เนื่องจากจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและบริการที่มีอยู่ พร้อมกับรักษาตำแหน่งในฐานะบริษัทผู้นำในธุรกิจนั้น ๆ และในการค้นหานวัตกรรมเทคโนโลยีดังกล่าว บริษัทไทยจึงมองหาผู้สร้าง startup ecosystem ภายนอก เช่น บ้านปู-อินโดนีเซีย (ITM) “การเป็นพันธมิตรกับ Plug and Play เพื่อสร้างและเชื่อมต่อพันธมิตรบริษัทเข้ากับบริษัทในวงการเดียวกันเพื่อจัดการกับความท้าทายที่กำลังเผชิญอยู่ทั้งวงการนั้นมักจำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกันเพื่อหา solutions ที่เป็นไปได้และอยู่ได้นาน” (คุณ จิรการณ์ วงศ์ทรรศี) และไทยวา “เราได้เข้าร่วมหลายอีเวนท์/เวที ในด้านเทคโนโลยีการเกษตร/เทคโนโลยีอาหาร และได้มีติดต่อพูดคุยกับสตาร์ทอัพที่น่าสนใจ รวมไปถึงพันธมิตรที่ได้ช่วยเราค้นหาและคัดสรร lead ให้” (คุณ ภัทร์ สรรพอาษา) สำหรับ SCGC ได้เข้าหากลุ่มสตาร์ทอัพโดย “ทำงานร่วมกับโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพทั้งในและต่างประเทศทั่วโลกเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับบริษัทตั้งใหม่ เรามี VC เป็นของตัวเอง และทำงานกับ VC อื่น ๆ เพื่อระบุหรือแนะนำสตาร์ทอัพที่น่าสนใจจากทั่วโลก” คุณจิรุตถ์ วัดตูม กล่าวต่อ “เรายังมีทีมที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะเป็นแมวมองสตาร์ทอัพหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของเราหรือของลูกค้าด้วย”

เมื่อผู้เข้าร่วมถูกถามเกี่ยวกับความสนใจของพวกเขาในหัวข้อนวัตกรรมแบบเปิด พวกเขามีคำตอบดังต่อไปนี้

นอกเหนือไปจากความสนใจในแวดวงธุรกิจรอบตัวแล้ว ทรัพยากรบุคคลและการฝึกอบรมภายในก็เป็นหนึ่งในหัวข้อที่สำคัญและน่าสนใจที่สุดในบรรดาทั้งหมด สำหรับบริษัทแล้ว สิ่งสำคัญคือการรักษาพนักงานไว้ และคอยฝึกอบรมและให้ความรู้พนักงานเพื่อให้รับมือกับสภาวะทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้

อุปสรรคทางภาษาและความแตกต่างทางวัฒนธรรม คือ ความท้าทายหลักสำหรับธุรกิจไทยในการร่วมงานกับสตาร์ทอัพญี่ปุ่น ผู้เข้าร่วมคาดหวังให้สตาร์ทอัพญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมแบบสากลที่สามารถปรับเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้

เนื่องจากหัวข้อของเราเกี่ยวกับ “J-Startups” ผู้เข้าร่วมจึงได้แบ่งปันมุมมองและความเห็นตรงไปตรงมาเกี่ยวกับสตาร์ทอัพญี่ปุ่นโดยทั่วไป คุณคริษฐ์ ศุภวัฒนกุล กล่าวว่า “อุปสรรคทางภาษาเป็นประเด็นใหญ่มาก ผมคิดว่าสตาร์ทอัพญี่ปุ่นเข้าใจยากเมื่อเทียบกับสตาร์ทอัพอื่น ๆ ถึงแม้จะมี solution ที่ดีกว่าก็ตาม และลูกค้าของพวกเขามักจะจำกัดอยู่แค่ลูกค้าชาวญี่ปุ่นเท่านั้น” ดร. ฐิติ ชนะภัย กล่าวเสริมว่า “สตาร์ทอัพญี่ปุ่นไม่เป็นที่นิยมนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพราะอุปสรรคทางภาษาและอุปสรรคทางวัฒนธรรมบางอย่าง” อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมทุกคนทราบดีและตื่นเต้นเรื่องคุณภาพและความสามารถทางเทคโนโลยีขั้นสูงของสินค้าญี่ปุ่น ตามที่คุณ จิรการณ์ วงศ์ทรรศี กล่าวว่า “จากที่ผมเห็นในข่าว สตาร์ทอัพญี่ปุ่นมีจุดแข็งด้าน Robotics และ AI solutions สตาร์ทอัพญี่ปุ่นได้ลงมือทำ AI solutions หลายอย่าง ซึ่ง solutions เหล่านี้นำมาใช้กับการจัดการเมืองได้ เช่น AI และ Deep Learning ช่วยทำให้เมืองต่าง ๆ ปลอดภัยขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น” ดร. ฐิติ ชนะภัย กล่าวต่อว่า “ผู้เชี่ยวชาญซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่เก่งที่สุดในโลก ดังนั้น ถ้าพวกเขาสามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ที่กล่าวถึงได้ บริษัทส่วนใหญ่ก็จะพิจารณาร่วมงานด้วย”

เมื่อถามเกี่ยวกับข้อเรียกร้องและความคาดหวังจากสตาร์ทอัพญี่ปุ่น คุณคริษฐ์ ศุภวัฒนกุล ตอบว่า “เราอยากเห็นพันธมิตรและลูกค้าระดับสากลมากขึ้นเมื่อเราทำการสอบทานธุรกิจขั้นต้น (ที่ SCB 10X) ถ้าคุณสามารถสื่อได้ว่ามีแนวปฏิบัติภายในที่เป็นสากลเกี่ยวกับแรงงานและวัฒนธรรมโลก เราจะเห็นโอกาสในการขยายต่อ ความหลากหลายในทีมเป็นสิ่งสำคัญ” ความเข้าใจธุรกิจท้องถิ่นก็สำคัญดังที่ ดร. ฐิติ ชนะภัย ได้กล่าว “เราคาดหวังให้พวกเขาเข้าใจวัฒนธรรมธุรกิจของเราและหาตัวเลือกที่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกราย ดังนั้น เราจึงต้องการสตาร์ทอัพที่เปิดกว้าง เข้าใจและสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่น โดยไม่ใช่แค่ลอกเลียนเคสธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากญี่ปุ่น”

การทำงานร่วมกันในอุดมคติขององค์กรและข้อความถึงสตาร์ทอัพญี่ปุ่น

“การร่วมทุน คือ ทางที่ดีที่สุด ผลประโยชน์ร่วมกันและเป้าหมายที่สอดคล้องกัน คือ กุญแจสู่ความสำเร็จ” เขากล่าวต่อ และแนะนำให้สตาร์ทอัพญี่ปุ่น “เข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและเข้าใจว่าแต่ละภาคส่วนดำเนินธุรกิจแตกต่างกันอย่างไร โดยเฉพาะธุรกิจสาธารณสุข ประเทศไทยมีรูปแบบสาธารณสุขที่พิเศษของตัวเอง ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ทั้งหมด โรงพยาบาลในประเทศไทยต่างมองหาพันธมิตรที่พร้อมจะสนับสนุนเคสธุรกิจต่าง ๆ ที่สามารถเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกราย ไม่ใช่เฉพาะประสบการณ์ของคนไข้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้เราดูแลคนไข้ได้ดีขึ้น พร้อมกับประหยัดค่าใช้จ่ายและรักษาผลประกอบการ ไว้ได้ การดูแลทางการแพทย์และนวัตกรรมสนับสนุนคือด้านที่ต้องพัฒนาปรับปรุง หากคุณมีความคิดหรือ solutions ที่จะช่วยเราได้ ขอให้ร่วมมือกับเราในการพัฒนาระบบสาธารณสุขด้วยกัน”

บ้านปูกำลังค้นหาระบบนิเวศหรือนักพัฒนาแพลตฟอร์มที่สามารถ “จับคู่หน้าที่ของระบบและปัญหาเข้ากับเทคโนโลยีและ solutions ด้วยการร่วมงานกับสตาร์ทอัพ”
เรากำลังมองหาสตาร์ทอัพหรือ technology solutions ในการพัฒนาแอปพลิเคชันแดชบอร์ดการจัดการการปล่อยคาร์บอนของกลุ่มบ้านปู และให้ข้อมูลสนับสนุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการรายงานและการเปิดเผยข้อมูลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หากคุณเป็นสตาร์ทอัพที่มี solution หรือแพลตฟอร์มที่สามารถผสานรวมข้อมูลรอยเท้าคาร์บอนและมีบล็อคเชนสำหรับตลาดคาร์บอนเครดิต อย่าลืมร่วมมือกับเราเพื่อให้เกิดความชาญฉลาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

“ผมคิดว่าการทำงานร่วมกันในอุดมคติคือการที่เราสามารถค้นหาความสนใจร่วมกัน และใช้ประโยชน์จุดเด่นของกันและกันเพื่อขยายธุรกิจไปพร้อมกัน” เขากล่าวต่อว่า “ในมุมมองของเรา สตาร์ทอัพยังมาพร้อมกับวิธีแก้ไขปัญหาที่น่าสนใจ พวกเขามีข้อจำกัดและขอบเขตที่น้อยกว่า การทำงานกับสตาร์ทอัพสามารถให้ทางเลือกอื่นสำหรับปัญหาเดียวกันและแนวทางแก้ไขที่ล้ำหน้า เรามีประสบการณ์ในการทำงานกับสตาร์ทอัพหรือแยกบริษัทใหม่ และเราตระหนักว่ามีทักษะที่พันธมิตรธุรกิจอย่าง SCGสามารถจัดหาและช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถแข่งขันในวงกว้างได้” เขาอยากให้สตาร์ทอัพญี่ปุ่น “เปิดใจและพูดออกมา ญี่ปุ่นมีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เยี่ยมยอดมากมาย แค่ต้องก้าวออกมาเท่านั้น”

“เราตั้งเป้าที่จะค้นหาและช่วยสตาร์ทอัพและบริษัทที่กำลังเติบโตในภาคเทคโนโลยีและนวัตกรรมฟาร์ม ห่วงโซ่อุปทานระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ส่วนผสมใหม่ อัพไซเคิล และพลาสติกชีวภาพ ให้สามารถขยายและต่อยอดธุรกิจได้” นอกจากนี้ ตามคำกล่าวของคุณ ภัทร์นั้น ไทยวา “ได้จัดตั้งธุรกิจเงินร่วมลงทุน (venture capital) “ไทยวา เวนเจอร์ส” โดยมีเป้าหมายเพื่อลงทุนในสตาร์ทอัพระยะเริ่มต้นที่เน้นด้านเทคโนโลยีสีเขียวในธุรกิจอาหารและการเกษตรแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) เรามองหาผู้ประกอบการ ผู้ก่อตั้ง และทีมงานที่มีแนวความคิดเหมือนกับเราในการส่งเสริมอนาคตของการเกษตรและอาหาร หากคุณเป็นสตาร์ทอัพที่มี solution หรือแพลตฟอร์มที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีอาหารและการเกษตรแบบ B2B ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรกับเราเพื่อเริ่มต้นสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกคน”

ความร่วมมือในอุดมคติจะเกิดขึ้นกับ “บริษัทช่วงท้าย (ก่อนเป็นยูนิคอร์น) ที่มีโอกาสลงทุนและมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความร่วมมือกับธนาคารแบบเดิมหรือหน่วยธุรกิจใหม่ของเราในการจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลและบล็อคเชน” SCB 10X นั้น “เปิดกว้างสำหรับ FinTech และบล็อคเชน / สินทรัพย์ดิจิทัล / การสนทนาเกี่ยวกับการเงินแบบไร้ศูนย์กลาง!”

เป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับทั้งองค์กรและสตาร์ทอัพที่จะร่วมมือกันมากกว่าที่เคย สำหรับองค์กรแล้ว ถือเป็นประตูสู่โอกาสในการใช้ประโยชน์จากความรู้ภายนอกและการวิจัยและพัฒนา พร้อมกับบรรลุเป้าหมาย เช่น การสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ การสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ที่มั่นคง และเพื่อสร้างวัฒนธรรมและทีมที่เป็นนวัตกรรมภายในองค์กร นวัตกรรมแบบเปิดสามารถช่วยให้องค์กรต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้นและด้วยต้นทุนที่ต่ำลง

ในทางกลับกัน สำหรับสตาร์ทอัพนั้น เป็นโอกาสครั้งสำคัญสำหรับพวกเขาในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นและมีขนาดใหญ่ เทคโนโลยี และทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับการโตแบบก้าวกระโดด ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้สตาร์ทอัพสามารถสร้างความสัมพันธ์และนำสินค้าสู่ตลาดผ่าน MVP และ PoC ได้เร็วขึ้นและต้นทุนต่ำลง

ท้ายที่สุดแล้ว นวัตกรรมแบบเปิดจะกลายเป็นขนบ ขณะที่องค์กรและสตาร์ทอัพต่างรับรู้ถึงประโยชน์เหล่านั้นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ขณะที่องค์กรไทยพยายามเข้าถึงสตาร์ทอัพในระดับสากล แต่การมีบทบาทของสตาร์ทอัพญี่ปุ่นยังถือว่าน้อยมาก จากการสำรวจ ผู้เข้าร่วมเชื่อว่าสตาร์ทอัพญี่ปุ่นขาดการทำงานเชิงรุก ความสามารถทางภาษา และความรู้ความเข้าใจท้องถิ่นในการทำธุรกิจ การที่สตาร์ทอัพญี่ปุ่นจะเฉิดฉายในระดับนานาชาติได้นั้น สิ่งสำคัญคือต้องก้าวไปเข้าหาองค์กรต่าง ๆ ในเชิงรุก พร้อมกับวิสัยทัศน์และ solutions ที่ชัดเจนและตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรดังกล่าว

ไม่ว่าคุณจะสามารถประสบความสำเร็จในร่วมงานกับองค์กรหรือไม่นั้นเป็นเรื่องหนึ่ง สิ่งสำคัญคือการลงมือทำของคุณในการพยายามสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรต่าง ๆ และมอบข้อเสนอที่ไม่เหมือนใคร พร้อมไปกับการเข้าใจปัญหาและความสนใจขององค์กรนั้น ๆ ถึงเวลาแล้ว และหากคุณคิดว่าคุณอยากจะติดต่อเข้าหาไม่ว่าองค์กรหรือสตาร์ทอัพในธุรกิจใดโดยเฉพาะ โปรดติดต่อ nmiyata@gmail.com หากมีคำถามหรือคำแนะนำใด ๆ

นาโอเอะ มิยาตะ – CEO บริษัท EN Innovation จำกัด

ในฐานะที่ปรึกษาธุรกิจนวัตกรรม เขาทำงานกับธุรกิจหลากหลายประเภท รวมถึงสตาร์ทอัพ SME และองค์กรขนาดใหญ่ โดยเฉพาะด้านการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลในกลยุทธ์การขยายธุรกิจ การสร้างการร่วมทุน และการสนับสนุนนวัตกรรมแบบเปิด

SHOW CASE

Related Articles

RECOMMEND