AI Technology
MedTech
J-Startup
Innovation
22.04.2022
【สัมภาษณ์พิเศษ J-Startup】
การให้ความสำคัญกับ “ข้อมูล” และ “ความสัมพันธ์” จะช่วยให้ “การมีอายุยืนยาวอย่างมีความสุข” เป็นจริงได้
LYXIS Co., Ltd.
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกมีการการนำระบบรีโมท และระบบดิจิทัลมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้มูลค่าและศักยภาพของการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทข้ามพรมแดนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ในทางกลับกัน การค้นหาบริษัทในต่างประเทศที่น่าเชื่อถือและมีคุณภาพ คุ้มค่าที่จะร่วมมือจริง ๆ อาจไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากอาจมีอุปสรรคด้านภาษา และวัฒนธรรม
ในกรณีเช่นนี้เราขอแนะนำวิธีการ “ค้นหาจากกลุ่มบริษัทที่ได้รับการรับรองระดับประเทศ” ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2561 กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม(METI) ได้เริ่มโครงการสนับสนุนบริษัทสตาร์ทอัพชื่อ “J-Startup” ในโปรแกรมนี้มีการคัดเลือกบริษัทสตาร์ทอัพญี่ปุ่นประมาณ 10,000 ราย โดยทำการการคัดเลือกอย่างเข้มงวดและให้การรับรอง “ได้รับการรับรองระดับประเทศ “ภายใต้ชื่อ J-Startup (*)”
*ลิงค์รายชื่อบริษัท J-Startup (ภาษาอังกฤษ):
https://www.j-startup.go.jp/en/startups/
ในโอกาสนี้ เราจะมาสัมภาษณ์คุณ ฮิโรโกะ ซาซากิ ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ บริษัท LYXIS Co., Ltd. (https://www.lyxis.com/) ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัท J-Startups ที่ได้กล่าวในเบื้องต้น
ญี่ปุ่นเป็นประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัยเป็นประเทศแรก ๆ ในโลก
ในปี ค.ศ.2010 ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก ๆ ในโลกที่ต้อนรับ “สังคมผู้สูงอายุ” ซึ่งหมายถึงอัตราของผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมีมากกว่า “21% ของจำนวนประชากร” นั่นหมายความว่าการจัดการดูแลคนสูงอายุระยะยาวจะกลายเป็นเรื่องปกติในอนาคตอันใกล้ สำหรับคนญี่ปุ่นจำนวนมาก
LYXIS Co., Ltd. กำลังพัฒนาธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยอย่าง IT และ AI อย่างเต็มที่ เพื่อสร้าง “ความสุขของอายุที่ยืนยาว” ในสังคม ซึ่งเป็นอนาคตที่มนุษย์ไม่เคยสัมผัสมาก่อน
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของญี่ปุ่น รุ่นที่เกิดในยุคเบบี้บูมหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เรียกว่า “รุ่นเบบี้บูมเมอร์” โดยรุ่นเบบี้บูมเมอร์จะกลายเป็นผู้สูงอายุในปี 2025 และในปี 2050 เด็กรุ่นลูกของเบบี้บูมเมอร์ซึ่งก็คือ รุ่น”เบบี้บูมเมอร์จูเนียร์” ก็จะกลายเป็นผู้สูงอายุเช่นกัน ผลที่ได้คือโครงสร้างทางสังคมที่ไม่สมดุล เป็นยุคที่คนหนุ่มสาวต้องสนับสนุนเลี้ยงดูผู้สูงอายุที่มีจำนวนมาก
“ภาพถ่ายหนึ่งภาพ” กลายเป็นแรงบันดาลใจในการก่อตั้งบริษัท
ก่อนหน้านี้ คุณซาซากิเองก็เคยมีส่วนร่วมต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงองค์กร การส่งเสริมความหลากหลาย และธุรกิจต่าง ๆ เกี่ยวกับการสนับสนุนความก้าวหน้าของผู้หญิง แล้ววันหนึ่งในงานสังสรรค์ฉลองงานพิมพ์ เธอก็ได้มีโอกาสพบกับคุณมิโนรุ ซาไก ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง LYXIS Co., Ltd. ในวันนั้นคุณซาซากิได้ถูกรับเชิญจากคุณซาไกให้ “ทำงานด้านการดูแลผู้สูงอายุด้วยกัน”
คุณซาซากิเล่าว่า “โชคดีที่พ่อของฉันซึ่งมีอายุมากกว่า 80 ปี มีสุขภาพดีและมีความสุข แม้ว่าฉันจะรู้ว่าสักวันหนึ่งคุณพ่อก็คงจะต้องการการดูแลสำหรับผู้สูงวัย แต่ตอนนั้นฉันก็ไม่ค่อยรู้สึกถึงวิกฤตินี้เท่าไร”
ปัจจัยที่ทำให้คุณซาซากิตัดสินใจมีส่วนร่วมในการก่อตั้ง LYXIS Co., Ltd. คือ รูปถ่ายของชายคนหนึ่ง ซึ่งเป็นรูปของชายวัย 70 ปี ที่เคยเป็นอัมพาตครึ่งล่าง ในรูปนั้นเขากำลังแบกศาลเจ้าเคลื่อนที่พร้อมคาดผ้าคาดศีรษะที่บิดเป็นเกลียว ชายคนดังกล่าวเคยรับการรักษาเป็นระยะวลานานในช่วงแรก และเนื่องจากปัญหาสุขภาพเขาจึงเลือกเก็บตัวอยู่คนเดียวเงียบ ๆ ไม่เข้าสังคมไประยะหนึ่ง แต่เมื่อมีโอกาสได้สนทนากับผู้ดูแลมืออาชีพ เขาจึงได้เล่าถึงความทรงจำในวัยหนุ่มอย่างมีความสุขว่าเขาเป็นคนรักงานเทศกาล เคยแบกศาลเจ้าเคลื่อนที่มาแล้วหลายครั้ง
“ถ้าอย่างนั้นก็ควรจะกลับไปแบกศาลเจ้าเคลื่อนที่กับเพื่อนเก่า ๆ นะคะ ทำไมคุณไม่เริ่มฟื้นฟูด้วยการใส่เสื้อฮัปปิที่ใช้สำหรับเทศกาลล่ะ” เมื่อลองทำตามคำแนะนำของผู้ดูแล ร่างกายของเขาก็กลับมาแข็งแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รูปที่ถ่ายเป็นรูปตอนที่ชายคนนั้นกำลังแบกศาลเจ้าเคลื่อนที่ เขามีใบหน้าที่สดใสมาก” (คุณซาซากิ)
คุณซาซากิกล่าวว่า เหตุการณ์ของชายคนนี้ได้ทำลายทัศนคติเหมารวมเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว เธอตระหนักว่า “การดูแลพยาบาลผู้สูงอายุระยะยาวไม่ใช่เพียงเพื่อช่วยทำหน้าที่ที่ขาดหาย แต่เป็นไปเพื่อสนับสนุนชีวิตของบุคคลให้ส่องแสงเปล่งประกายต่อไป”
จากเว็บไซต์ของ LYXIS Co., Ltd. (https://www.lyxis.com/about/ )พร้อมรูปถ่ายและเรื่องราวของชายผู้เป็นต้นเหตุความคิดของคุณซาซากิที่ร้อยเรียงออกมาว่า “ฉันต้องการสร้างมาตรฐานใหม่ในยุคที่ผู้คนมีอายุยืนยาว”
“แทรกแซงทางความคิด” เพื่อเอาชนะความคิดแบบเดิม ๆ รวมถึงความรู้สึกไม่สะดวกใจในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
หนึ่งในบริการของ LYXIS คือ “LCAT (Lyxis Care Assistant Tools)” ซึ่งเป็นระบบคลาวด์ที่สนับสนุนความสมดุลระหว่างงานกับการดูแลผู้สูงอายุ นี่คือโซลูชันแก้ปัญหาบนคลาวด์ที่ช่วยให้คุณมีความรู้ความเข้าใจซึ่งจำเป็นสำหรับสังคมผู้สูงอายุ เราได้ทำสัญญากับบริษัทขนาดใหญ่เกือบ 40 แห่ง และจำนวนผู้รับบริการเกือบ 100,000 รายแล้ว
ทำไมถึงมีความจำเป็นดังกล่าว เบื้องหลังที่มานี้ คือ การมี”อุปสรรคทางจิต”ของผู้คน ไม่ว่าจะเป็น “อยากเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับพ่อแม่เหมือนกันแต่สับสนเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ” หรือ “ไม่รู้จะทำอย่างไรดีเพราะไม่มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว” คุณซาซากิกล่าว
“คนญี่ปุ่นจำนวนมากยังคงยังมีความคิดติดอยู่ในระบบ และแนวคิดก่อนที่สังคมจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
LYXIS Co., Ltd. เล็งเห็นว่าเราจำเป็นต้องมีการ “แทรกแซงทางความคิด” เพื่อที่จะเอาชนะแบบแผน และความรู้สึกไม่สะดวกใจแบบเดิม ๆ เพื่อพาสังคมหลุดพ้นจากแนวคิดดั้งเดิมนี้ “ (คุณซาซากิ)
เป้าหมายของ “LCAT” คือ การดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายทาง ด้วยเหตุนี้ใน “LCAT” จากพื้นฐาน เช่น “สิ่งที่ควรคุยกับคุณพ่อคุณแม่ ณ เวลานี้” และ “เงินออมที่จำเป็นสำหรับระบบรองรับในอนาคต” “ในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ลูก ๆ เองที่เป็นมือสมัครเล่น ถ้าให้มาลงมือดูแล สุดท้ายแล้วก็ไม่ดีต่อตัวลูกหรือคุณพ่อคุณแม่” โดยการทำเช่นนี้ เราจะทำลายอคติแบบแผนความคิดแบบเดิม ๆ ของการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว และสนับสนุนการสร้างระบบที่ช่วยให้มืออาชีพผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแลจากระยะเริ่มต้นโดยไม่รู้สึกรังเกียจต่อการดูแลระยะยาวดังกล่าว ว่ากันว่าหากสามารถ “แทรกแซงทางความคิด” จนถึงจุดนี้ได้ ก็จะสามารถนำไปสู่การกระทำได้ในที่สุด
ตามที่คุณซาซากิได้กล่าวไว้ว่า แผนกบุคลากร และผู้บริหารของบริษัทควรเข้าใจถึงความจำเป็นในการเรียนรู้ และเข้าใจถึงการเข้าสู่การสูงอายุก่อนในช่วงแรก จากนั้นจึงขยายผลไปสู่สมาชิกภายในองค์กรคนอื่น ๆ นอกจากนี้ เราตั้งใจออกแบบ UX ให้ใช้งานง่าย เพราะต้องการให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่ายโดยไม่รู้สึกลำบากใจ และตระหนักถึงความคุ้มค่าในระยะเวลาเวลาอันสั้น
สนับสนุนการสร้างธุรกิจอาวุโสด้วยข้อมูลของ LYXIS
หนึ่งในการบริการที่โดดเด่นของ LYXIS คือ แผนกวิจัยการตลาดผู้อาวุโส นี่คือบริการสนับสนุนทางการตลาด และการวิจัยร่วมกับผู้ให้บริการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว เพื่อให้ผู้สูงอายุที่อยู่บ้าน และสมาชิกครอบครัวได้รับมอบผลิตภัณฑ์ และบริการที่พวกเขาต้องการจริง ๆ
แม้ว่าญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุจะกลายเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม แต่ก็ยากที่จะเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของพวกเขา การสำรวจออนไลน์ก็ประมวลผลได้ยาก และพวกเขาก็ไม่ค่อยจะออกมานอกบ้านกัน ดังนั้น LYXIS จึงใช้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ดูแลธุรกิจบริการรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว และช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถขยายผลพัฒนาธุรกิจตามสถานการณ์จริงของผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแล และความยากลำบากของพวกเขา
คุณซาซากิกล่าวอีกว่าแพลตฟอร์มและรูปแบบธุรกิจของ LYXIS ยังสามารถนำไปใช้ในต่างประเทศได้ด้วยในอนาคต
“แต่ละประเทศจะมีระบบการประกันการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีความแตกต่างกัน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของข้อมูลที่จำเป็นก็แตกต่างกันไปด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทั่วโลกมีความรู้สึกร่วมกัน นั่นคือความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นกลไกของการแก่ชรา ปัญหาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในครอบครัวที่น่าหนักใจ รู้สึกไม่สะดวกใจที่จะพูดถีง เรื่องนี้เราขอทำเป็นแบบอย่างในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกด้านการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว และจากนั้นก็จะขยายผลไปครอบคลุมผู้คนในต่างประเทศ “(คุณซาซากิ)
เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ของ “แพลตฟอร์มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม”
คุณซาซากิกล่าวว่าในขณะที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการอภิปรายหลายครั้งในฐานะบริษัทเทคโนโลยียุคบุกเบิกของกิจการผู้สูงอายุ เธอก็ได้ค้นพบ “ความแตกต่าง” ในทางที่ดีจากบริษัทเทคโนโลยียุคอื่น ๆ
“มันก็คล้ายกับความแตกต่างในนิกาย และแนวทาง Age Tech หลายแห่งที่กำลังใช้ AI เพื่อ “ปรับปรุงประสิทธิภาพ” และ “ปรับปรุงการขาดแคลนแรงงาน” ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในกิจการดูแลผู้สูงอายุในญี่ปุ่น ปัญหานี้สำคัญมาก คิดว่าคงเป็นไปได้ยากที่จะหลีกเลี่ยงการไม่นำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ถึงจะอย่างนั้นก็ตามแต่ ใจคุณจริงๆ ต้องการให้ AI จัดทำแผนดูแลผู้เกษียณอายุของคุณเองหรือไม่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อพิจารณาตามความแตกต่างของปัจเจกบุคคลแล้วว่า แต่ละคนก็แตกต่างกันไป ดังนั้นพวกเราจึงขอมีบทบาทใช้ AI และเทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ โดยเข้าไปสู่การเติมเสริม “อารมณ์ความรู้สึก” โดยนำประวัติ และวิถีชีวิตของบุคคลนั้น ๆ มาใช้งานด้วย” (คุณซาซากิ)
LYXIS จัดการข้อมูลของมนุษย์ซึ่งมีรากฐานมาจากชีวิตของแต่ละคน และเราจะใช้ข้อมูล รมถึงเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อชีวิตที่ยืนยาวและมีความสุข นี่คือสิ่งที่แตกต่างของบริษัทเราเมื่อเทียบกับ Age Tech อื่น ๆ
สุดท้ายนี้ คุณซาซากิได้สรุปไว้ว่า “LYXIS ตั้งเป้าที่จะเป็นมาตรฐานใหม่” เรามุ่งหวังที่จะสร้างแพลตฟอร์มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยโฟกัสที่ปัญหาแอบแฝงของสังคม ซึ่งแม้จะเข้าใจได้ด้วยเหตุผล แต่ก็ยังขัดแย้งกับความรู้สึกอยู่ดี” (คุณซาซากิ)
【SHOW CASE for J-Startup】
บทความนี้เขียนจากการสัมภาษณ์ นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มุ่งถ่ายทอดจุดเน้น เจตนารมณ์ ตลอดจนหลักคิดของกฎหมาย เพื่อสร้างความเข้าใจ และคลายความกังวลให้แก่องค์กรธุรกิจ โดยคาดหวังว่า หลังจากกฎหมายบังคับใช้จะสร้างสมดุลด้านการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในสังคมไทย หากทุกฝ่ายเกิดความตระหนักและเข้าใจตรงกัน นั่นคือ ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
01.04.2022
1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในมาตราที่เลื่อนการบังคับใช้ออกมา 2 ปี จะเริ่มมีผล แม้จะเหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่เดือน แต่ก็สามารถเร่งดำเนินการให้องค์กรปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ได้ไม่ยาก โดย นายกำพล ศรธนะรัตน์ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Protection Officer (DPO) และที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และประธานชมรม DPO ได้ให้หลักการ แนวทาง ตลอดจนขั้นตอนการปฏิบัติ ไว้ในที่นี้
20.04.2022
ปัจจุบันเรื่องของกฎหมาย พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) มีบทบาท และเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งทุกองค์กรจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และนำไปปรับใช้ภายในองค์กรอย่างเหมาะสม โดยการนำไปใช้ในองค์กรให้เหมาะสมนั้น มีหลากหลายมิติที่หลายฝ่ายในองค์กรจำเป็นที่จะต้องหาทางออกร่วมกัน เพื่อนำหลักกฎหมาย PDPA ไปใช้อย่างถูกต้อง และเกิดประโยชน์สูงสุด
05.05.2022