FinTech
Innovation
Digital
EC, O2O, Omnichannel
Payment, Cashless
19.01.2022
ถอดรหัสเทคโนโลยีการเงินที่จะเข้ามาเปลี่ยนโลกทั้งใบ
FinTech กลายเป็นกุญแจสำหรับการสร้างโอกาส และต่อยอดธุรกิจของผู้ประกอบการ นำไปสู่ความได้เปรียบเชิงแข่งขัน แต่คำถามคือ เราเข้าใจเทคโนโลยี FinTech ได้ดีแค่ไหน? และพร้อมจะนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้กับการดำเนินธุรกิจในโลกอนาคตหรือยัง?
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินคำว่า FinTech กันมากขึ้น ซึ่ง FinTech นั้น มาจากคำว่า Financial Technology เกิดจากการนำเทคโนโลยีมาใช้กับธุรกิจด้านการเงิน เช่น การโอนเงินผ่าน Mobile Banking และการชำระเงินผ่านทางโทรศัพท์มือถือ (E-Payment) ไปจนถึงการให้บริการสินเชื่อ และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งปัจจุบัน FinTech เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้การดำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่เกิดเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การทำธุรกรรมทางการเงินเปลี่ยนแปลง การดำเนินธุรกิจรูปแบบเดิมไม่อาจตอบสนองต่อตลาดได้อีกต่อไป จึงไม่ต้องแปลกใจหาก FinTech กลายเป็นสิ่งที่ถูกให้ความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการในเวลานี้
คุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ที่คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงการธนาคารมามากกว่า 20 ปี และมีความรู้และประสบการณ์ในด้าน Innovation และ Start-Up เป็นอย่างดี ได้กล่าวถึงเทคโนโลยี FinTech ว่า เราสามารถใช้ FinTech ได้ในทุกอุตสาหกรรม เพราะทุกธุรกิจจำเป็นต้องมีระบบการชำระเงิน จึงข้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการเงินอย่างแน่นอน และเทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้ามาช่วยให้ธุรกิจของคุณแข็งแกร่งขึ้น
FinTech กุญแจสู่ความสำเร็จ
สำหรับรูปแบบของ FinTech มีทั้ง Business to Customer (B2C) และ Business to Business (B2B) ซึ่ง B2C จะทำงานกับลูกค้าส่วนบุคคล แต่ B2B จะทำงานร่วมกับเจ้าของกิจการ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ประกอบการในประเทศไทยหลายบริษัทได้ใช้ FinTech เข้ามาช่วยพัฒนาธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม
ยกตัวอย่างเช่นเมื่อธุรกิจของคุณต้องมีการชำระเงินจากต่างประเทศ ซึ่งการโอนเงินรูปแบบเดิม ๆ จะต้องใช้ระยะเวลา 1-3 วัน และไม่สามารถติดตามขั้นตอนระหว่างการโอนเงินได้ แต่หากใช้เทคโนโลยี Blockchain ที่สามารถทำธุรกรรมการเงินแบบไม่ต้องผ่านตัวกลางจะทำให้การโอนเงินระหว่างประเทศเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการประยุกต์ใช้ Blockchain กับ FinTech ได้ช่วยให้กระบวนการชำระเงินเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้
นอกจากนี้ ยังมีการใช้ FinTech ร่วมกับโปรแกรมบัญชี ซึ่งเพิ่มความสะดวกสบายสำหรับการบันทึกบัญชีแบบ Cloud Accounting platform ทำให้ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็สามารถจัดการระบบบัญชีได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และยังสามารถคำนวณได้อย่างอัตโนมัติ ทำให้เห็นรายรับ รายจ่าย และผลประกอบการได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องจ้างพนักงานบัญชีอีกต่อไป เพียงแค่ใช้ระบบบัญชีอย่างแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า Peak ซึ่งสามารถทำระบบบัญชีได้อัตโนมัติ และสรุปรายรับรายจ่ายกำไรขาดทุนได้ทันที
สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผู้ประกอบการสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเก็บข้อมูลการซื้อขายของลูกค้า รวมไปถึงการชำระเงินที่รวดเร็ว และค่าธรรมเนียมการโอนเงินที่น้อยลง หรือแม้กระทั่งธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ที่สามารถนำข้อมูลที่จัดเก็บบนแพลตฟอร์มดิจิทัลมาวิเคราะห์ เพื่อช่วยในการบริหารทรัพยากร
ขณะที่ FinTech ยังเข้ามามีบทบาทในเรื่องของการลงทุน อย่างเช่น “FINNOMENA” แพลตฟอร์มตัวแทนนายหน้าหลักทรัพย์ที่นอกจากจะมีระบบซื้อขายกองทุนออนไลน์ที่รวดเร็วแล้ว ยังใช้ระบบ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ในการคัดเลือกกองทุนที่เหมาะสมกับความต้องการให้นักลงทุน และมีความโปร่งใสในการเลือกกองทุนที่ได้ผลตอบแทนดีที่สุด ตอบโจทย์ที่สุด
นอกจากนี้การใช้ FinTech กับดำเนินธุรกิจแบบ B2B ยังได้รับความสนใจอย่างมาก เช่นกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม เราได้เห็นการนำ FinTech เข้ามาใช้เรียกว่า Blockchain for Supply Chain ซึ่งทำให้เจ้าของธุรกิจเห็นข้อมูล กระบวนการในระบบของสายการผลิตทั้งหมด ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ปัญหา และพยากรณ์ธุรกิจได้ตรงจุด แม้กระทั่งการส่งออก และนำเข้าก็สามารถนำ Blockchain เข้ามาประยุกต์ใช้ทำให้ติดตามขั้นตอนได้ตั้งแต่ต้นทางไปจนจบกระบวนการ
“ในกลุ่มอุตสาหกรรม Logistics ได้นำเทคโนโลยี Blockchain เข้ามาเชื่อมต่อรับ-ส่งข้อมูลตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ยกตัวอย่างเช่น การนำเข้าปลาจากประเทศญี่ปุ่นที่นำเทคโนโลยี Blockchain in Logistics มาใช้ ทำให้ผู้ประกอบการเห็นกระบวนการ และราคาสินค้า ตั้งแต่เริ่มต้นที่ตลาดปลา มาจนถึงการเก็บรักษา และการขนส่ง มาจนถึงปลายทางที่สามารถชำระเงินและยังสามารถเชื่อมต่อไปจนถึงกรมศุลากรได้อีกด้วย”
เทคโนโลยีเบื้องหลัง FinTech
จะเห็นว่า FinTech สามารถช่วยพัฒนาธุรกิจในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งภายใต้ความสะดวกรวดเร็วของเทคโนโลยี FinTech มีเบื้องหลังคือการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่หลากหลาย จึงช่วยให้แพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่นำ FinTech มาใช้โดดเด่น ได้แก่
FinTech Law & Regulation ในประเทศไทย
ในปัจจุบันบริษัท Start-Up ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในประเทศไทยได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเม็ดเงินลงทุนในปี 2020 เติบโตจากปี 2019 ถึง 3 เท่าตัว และปี 2021 มีแนวโน้มว่าจะเติบโตต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาประเทศไทยมีบริษัทที่เป็นยูนิคอร์น 3 ราย คือ Flash Express, Ascend Money และ Bitkub ซึ่งทั้ง 3 บริษัทนี้เป็นบริษัทที่ใช้เทคโนโลยี FinTech ทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี FinTech ต้องอยู่ภายใต้การกำกับ และดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมี 3 ส่วนหลัก ๆ
โดยการทำ FinTech ในประเทศไทยจะต้องมี Regulator คอยกำกับดูแล และปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ ได้ให้การสนับสนุน Tech Start-Up มากขึ้น เช่น ธปท.ได้เปิดรับไอเดียใหม่ ๆ จากผู้ประกอบการ ซึ่งสามารถเข้าไปอยู่ใน Sandbox หากผ่านการทดลองก็จะสามารถออกมาทำธุรกิจได้อย่างเต็มตัว
ความท้าทายที่รออยู่
ถึงแม้ Tech Start-Up หรือ FinTech ในประเทศไทยจะมีการเติบโตได้อย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือการขาดแคลนนักพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยมีนักพัฒนาน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในโลก จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือ และส่งเสริมเพื่อสร้างนักพัฒนาให้มากขึ้น
นอกจากนี้ อีกหนึ่งความท้าทายของ FinTech เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันนี้ FinTech สามารถให้บริการด้านการชำระเงิน การลงทุน การให้สินเชื่อ และรวมตัวกันอยู่ในแพลตฟอร์มเดียวซึ่งทำให้การดำเนินธุรกิจสะดวกรวดเร็วมากขึ้น หากเรายังดำเนินธุรกิจ หรือให้บริการรูปแบบเดิม ๆ ก็จะเสียเปรียบคู่แข่งที่มีแพลตฟอร์มดิจิทัลและเทคโนโลยีที่เหนือกว่า
“ปัจจุบันผู้ประกอบการในหลากหลายอุตสาหกรรมได้ปรับตัวมาใช้ FinTech มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นช่วยลดต้นทุนทางการเงิน ช่วยเก็บรวมรวมข้อมูล ตรวจสอบขั้นตอนและวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยี FINTECH นั้น แฝงอยู่ในทุกอุตสาหกรรม และมีความสำคัญสำหรับการนำไปพัฒนาธุรกิจได้ในทุก ๆ องค์กร”
สำหรับบทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความรู้ด้านเทคโนโลยี FinTech เท่านั้น หากใครที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับ FinTech ที่ยังมีรายละเอียดให้ศึกษาอีกมากมาย โดยสามารถเข้าชม VDO บรรยายตัวเต็มจากคุณแซม ตันสกุล ได้ใน “ICHI Special Edition / feat. FinTech” หรือคลิกที่นี่ https://marketplace.jrit-ichi.com/ve/JRIT-ICHI-Cyber-Market-Station-public?view=community-zone-pub
【SHOW CASE for FinTech】
ผู้สนใจรับชม session นี้ย้อนหลัง สามารถเข้าไปชมได้ที่ Webinar Zone ในงาน ICHI
บทความนี้เขียนจากการสัมภาษณ์ นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มุ่งถ่ายทอดจุดเน้น เจตนารมณ์ ตลอดจนหลักคิดของกฎหมาย เพื่อสร้างความเข้าใจ และคลายความกังวลให้แก่องค์กรธุรกิจ โดยคาดหวังว่า หลังจากกฎหมายบังคับใช้จะสร้างสมดุลด้านการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในสังคมไทย หากทุกฝ่ายเกิดความตระหนักและเข้าใจตรงกัน นั่นคือ ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
01.04.2022
1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในมาตราที่เลื่อนการบังคับใช้ออกมา 2 ปี จะเริ่มมีผล แม้จะเหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่เดือน แต่ก็สามารถเร่งดำเนินการให้องค์กรปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ได้ไม่ยาก โดย นายกำพล ศรธนะรัตน์ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Protection Officer (DPO) และที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และประธานชมรม DPO ได้ให้หลักการ แนวทาง ตลอดจนขั้นตอนการปฏิบัติ ไว้ในที่นี้
20.04.2022
ปัจจุบันเรื่องของกฎหมาย พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) มีบทบาท และเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งทุกองค์กรจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และนำไปปรับใช้ภายในองค์กรอย่างเหมาะสม โดยการนำไปใช้ในองค์กรให้เหมาะสมนั้น มีหลากหลายมิติที่หลายฝ่ายในองค์กรจำเป็นที่จะต้องหาทางออกร่วมกัน เพื่อนำหลักกฎหมาย PDPA ไปใช้อย่างถูกต้อง และเกิดประโยชน์สูงสุด
05.05.2022