FinTech
Digital
EC, O2O, Omnichannel
Payment, Cashless
Self-checkout, POS
Multi-store management
20.01.2022
แนะนำ 8 บริการชำระเงินยอดนิยม
ระบบการชำระเงินออนไลน์เป็นระบบที่ช่วยให้การชำระเงินทางอินเทอร์เน็ตเสร็จสมบูรณ์ได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถนำไปใช้ชำระเงินล่วงหน้าที่ร้านค้าจริงได้ด้วย เช่น เว็บไซต์ e-Commerce ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย หรือโรงแรมที่พัก
วิธีการชำระเงินหลัก ได้แก่ การชำระเงินด้วยบัตรเครดิต การโอนเงินผ่านธนาคาร การชำระเงินผ่านร้านสะดวกซื้อ การชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการเครือข่าย ดังนั้น เมื่อผู้ประกอบการเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าด้วยการรองรับวิธีการชำระเงินที่หลากหลาย จึงเป็นการเพิ่มช่องทางจำหน่ายได้อีกหนึ่งช่องทาง
การลงทะเบียน รวมถึงการใช้งานบริการชำระเงินแบบเดิม ๆ อาจสร้างความลำบาก และมีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่หากเปลี่ยนมาใช้ระบบการชำระเงินแบบออนไลน์ ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรวบรวมการชำระเงินต่าง ๆ กระทำการแทน และควบคุมจัดการการรับเงินเข้าได้จากส่วนเดียว จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดภาระในการทำงานลงได้
ดังนั้น วันนี้เราจึงเรียบเรียง และรวมรวมประเด็นสำคัญ รวมถึงลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจ เพื่อให้ทุกท่านนำข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจเลือกระบบ หรือบริการชำระเงินออนไลน์ที่เหมาะสม หวังว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์ และนำมาปรับใช้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. Omise
Omise ที่เดียวจบ ครบทุกความต้องการของธุรกิจ
Omise คือระบบชำระเงินที่มาพร้อมฟังก์ชั่นการทำงานครบครัน ที่พร้อมจะดูแลระบบแบบครบวงจร และยังช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ตอบโจทย์ทุกความต้องการของธุรกิจได้อย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็น
การรับชำระเงิน
ผู้ซื้อจากทั่วโลกสามารถเลือกชำระเงินผ่านทางช่องทางที่คุ้นเคย การเพิ่มตัวเลือกในการรับชำระเงินให้ผู้ซื้อ โดยช่องทางการชำระเงินที่ลูกค้าคุ้นเคยส่งผลให้ลูกค้ากล้าที่จะชำระเงินมากขึ้นและการค้าขายก็ดีขึ้นไปด้วยเช่นกัน
ค้าขายบนโซเชียล
เพิ่มโอกาสทางการขายและมอบประสบการณ์ที่ราบรื่นให้กับผู้ซื้อทางออนไลน์ เปลี่ยนการแชทธรรมดาให้กลายเป็นการพูดคุยให้ข้อมูลสินค้า เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ให้กับผู้ซื้อและผู้ขายและปิดการขายได้เลย โดยไม่ต้องส่งผู้ซื้อมาที่เว็บไซต์ให้ยุ่งยากอีกต่อไป
ระบบอัตโนมัติ
งานประจำซ้ำซากที่ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำสูง ระบบอัตโนมัติจะช่วยส่งเสริมและพัฒนาการทำงานให้ส่วนต่างๆให้มีความแม่นยำมากขึ้น แค่สั่งการระบบเอาไว้และรอระบบดำเนินการเองได้เลย
เริ่มต้นได้ง่าย
การติดตั้งระบบให้เข้ากับเว็บไซต์ทำได้โดยง่าย และเริ่มต้นชำระเงินได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงอีกด้วย
2. Square
ระบบการชำระเงินที่สามารถจัดการข้อมูลทั้งร้านค้าจริง และร้านค้าออนไลน์จากส่วนกลางได้ด้วยบัญชี Square
เนื่องจากข้อมูลผลิตภัณฑ์ของร้านค้าจริง และร้านค้าออนไลน์จะซิงโครไนซ์กันโดยอัตโนมัติ ผ่านเครื่องคิดเงิน POS เฉพาะทาง จึงช่วยลดขั้นตอนการจัดการผลิตภัณฑ์ รวมถึงการจัดการคำสั่งซื้อลงได้
นอกจากนี้ หากใช้ฟังก์ชันสร้างเว็บไซต์ แม้จะเป็นมือใหม่ ก็สามารถออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะกับภาพลักลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ได้อย่างง่ายดาย สามารถเปิดร้านค้าออนไลน์ และจัดการได้โดยง่าย ทั้งยังสนับสนุนการขายโดยใช้ SNS เช่น Instagram และ Facebook
3. LINE Pay
บริการชำระเงินด้วยรหัส QR ที่สามารถเข้าถึงผู้ใช้งาน LINE ได้มากกว่า 81 ล้านคนในญี่ปุ่น
บริการครบวงจร ส่งเสริมการใช้บริการของลูกค้าใหม่ และลูกค้าที่กลับใช้บริการซ้ำด้วยแคมเปญที่สนับสนุนการดึงดูดลูกค้า และการคืนกำไรโบนัส LINE Pay
ด้วยการเชื่อมโยงเข้ากับบัญชีทางการของ Line ช่วยให้สามารถเพิ่มเพื่อนในบัญชีเมื่อชำระเงินได้ และสามารถดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น ส่งข้อความ ออกคูปองส่วนลด ได้อย่างมีประสิทธิผล
ทั้งยังรองรับ “WeChat Pay” และ “NAVER Pay” บริการชำระเงินในมือถือสำหรับ Inbound
4. STORES
ระบบการชำระเงินออนไลน์ที่สามารถสร้าง และส่งใบแจ้งหนี้ (หน้าเว็บสำหรับชำระเงิน) ทางออนไลน์ได้
เมื่อส่งใบแจ้งหนี้แล้ว URL สำหรับการชำระเงินจะถูกส่งไปยังที่อยู่อีเมลของผู้ใช้งาน จากนั้นผู้ใช้งานจะสามารถชำระเงินจากหน้าเว็บได้อย่างสมบูรณ์
ทั้งยังสามารถสร้างหน้าเว็บที่รองรับหลายภาษาโดยอัตโนมัติได้จากใบแจ้งหนี้เพียงใบเดียว
นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสนใจ เพราะทั้งร้านค้า และผู้ใช้งานสามารถชำระเงินบนเว็บเบราว์เซอร์ของPC สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตโดยไม่ต้องใช้แอปพลิเคชันอีกด้วย
5. Paidy
ระบบการชำระเงินที่ไม่จำเป็นต้องมีบัตรเครดิต ซึ่งให้การสนับสนุนผู้ใช้งานวัยหนุ่มสาว และผู้ใช้งานที่ไม่ใช้บัตรเครดิตซึ่งมีจำนวนมากกว่า 4 ล้านบัญชี
ผู้ใช้งานสามารถเลือก “ชำระภายหลัง 3 ครั้ง” แบ่งจ่ายได้ 3 งวด โดยไม่มีค่าบริการแบ่งจ่าย (ค่าธรรมเนียมสูงสุด 356 เยน/ครั้ง เฉพาะกรณีที่ชำระที่ร้านสะดวกซื้อ) แต่ทางร้านจะได้รับเงินเต็มจำนวนในเดือนถัดไปตามปกติ จึงช่วยเพิ่มโอกาสในการเพิ่มผู้ใช้งานใหม่โดยไม่ต้องกังวลว่าเงินที่ได้จากการขายสินค้าจะเข้าช้า โดยมีการรับประกันเงินที่ได้จากการขายสินค้าเข้า 100%
6. Stripe
โครงสร้างพื้นฐานในการชำระเงินสำหรับอินเทอร์เน็ตที่จัดการธุรกิจออนไลน์ด้วยระบบรับชำระเงินและฝากเงินโดยใช้ซอฟต์แวร์ Stripe และ API ที่มีฟังก์ชั่นระดับสูง
มีโครงสร้างพื้นฐานในการชำระเงินเพื่อการขายผ่านเคาน์เตอร์ การชำระเงินตามรอบระยะเวลา แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ และ Market Place ของผลิตภัณฑ์ Stripe ครบถ้วน ทั้งยังสามารถเลือก และเชื่อมโยงระบบชำระเงินให้เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจได้
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการสนับสนุนทางธุรกิจ เช่น ส่งใบแจ้งหนี้ การออกบัตรเสมือนจริงและบัตรจริง การระดมทุน และการจัดการค่าใช้จ่าย ด้วยเช่นกัน
7. PayPal
แพลตฟอร์มการชำระเงินที่มีผู้ใช้งาน 360 ล้านคนทั่วโลกและรองรับมากกว่า 100 สกุลเงิน
ผู้ใช้งานสามารถเลือกชำระเงินบนเว็บไซต์ มือถือ หรือแอพได้ตามใจชอบ เมื่อการชำระเงินเสร็จสมบูรณ์เงินจะถูกโอนเข้าบัญชีธุรกิจของร้านค้าทันที
นอกจากนั้นยังสนับสนุนธุรกิจออนไลน์ด้วยบริการต่าง ๆ ได้แก่ ตัวเลือกการชำระเงินสม่ำเสมอ เช่น ค่าสมัครสมาชิก และ “PayPal.Me” ที่รับการชำระเงินได้เพียงแค่แชร์ลิงก์ผ่านอีเมล SMS หรือ SNS และการจัดทำ/ส่งใบแจ้งหนี้/ใบเสนอราคา เป็นต้น
8. ROBOT PAYMENT
บริการชำระเงินที่มีจุดแข็งด้าน solution การจัดการสมาชิกผู้ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น การเรียกเก็บเงินในราคาคงที่สำหรับแฟนคลับ โรงเรียน สัมมนา
สามารถเลือกบริการชำระเงินที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานของคุณจากวิธีการชำระเงินต่าง ๆ เช่น บัตรเครดิต การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร การโอนเงินผ่านธนาคาร การชำระเงินผ่านร้านสะดวกซื้อ และการชำระเงินผ่านผู้ให้บริการเครือข่าย
นอกจากนี้ ยังมี “การชำระเงินค่าสมาชิก” การชำระเงินด้วยบัตรเครดิตเฉพาะทางสำหรับการชำระเงินอย่างต่อเนื่องทุกเดือนด้วยเช่นกัน
【SHOW CASE for FinTech】
บทความนี้เขียนจากการสัมภาษณ์ นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มุ่งถ่ายทอดจุดเน้น เจตนารมณ์ ตลอดจนหลักคิดของกฎหมาย เพื่อสร้างความเข้าใจ และคลายความกังวลให้แก่องค์กรธุรกิจ โดยคาดหวังว่า หลังจากกฎหมายบังคับใช้จะสร้างสมดุลด้านการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในสังคมไทย หากทุกฝ่ายเกิดความตระหนักและเข้าใจตรงกัน นั่นคือ ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
01.04.2022
1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในมาตราที่เลื่อนการบังคับใช้ออกมา 2 ปี จะเริ่มมีผล แม้จะเหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่เดือน แต่ก็สามารถเร่งดำเนินการให้องค์กรปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ได้ไม่ยาก โดย นายกำพล ศรธนะรัตน์ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Protection Officer (DPO) และที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และประธานชมรม DPO ได้ให้หลักการ แนวทาง ตลอดจนขั้นตอนการปฏิบัติ ไว้ในที่นี้
20.04.2022
ปัจจุบันเรื่องของกฎหมาย พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) มีบทบาท และเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งทุกองค์กรจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และนำไปปรับใช้ภายในองค์กรอย่างเหมาะสม โดยการนำไปใช้ในองค์กรให้เหมาะสมนั้น มีหลากหลายมิติที่หลายฝ่ายในองค์กรจำเป็นที่จะต้องหาทางออกร่วมกัน เพื่อนำหลักกฎหมาย PDPA ไปใช้อย่างถูกต้อง และเกิดประโยชน์สูงสุด
05.05.2022