MarTech
Marketing
Innovation
Digital
22.12.2021
Marketing will change your company after COVID-19 disaster (Part-1)
ขอต้อนรับทุกคนเข้าสู่งานอิจิเดย์ โดยในงานจะมีการอัพเดทเทรนด์เทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย และเมื่อเจอโซอี้ ก็ต้องไม่พลาดกับการอัพเดท Digital Marketing Trend ก่อนอื่นขอแนะนำตัวอย่างเป็นทางการ ภญ.โสภา พิมพ์สิริพานิชย์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตลาดออนไลน์ เป็นคนแรกของประเทศไทยที่สอบได้ LINE Certified Coach ตั้งแต่ปี 2016 และเป็นคนเดียวของประเทศไทยที่ได้รับรางวัลจากบริษัท LINE ทุกปี รวมถึงเป็นคนแรกของไทยที่ได้รับเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญ Lazada สร้างธุรกิจจากเงิน 30,000 เป็น 100 ล้าน ชื่อแบรนด์ว่า “ZOE colorfully yours” มีจำหน่ายที่ห้างชั้นนำทั่วประเทศ และต่างประเทศ ได้รับรางวัลการันตี และการยอมรับในการทำการตลาดออนไลน์มากมาย มีการสอนการทำการตลาดผ่านทางsocial media ทั้งหมดกว่า 10,000 คน มีผู้ติดตามมากกว่า 500,000 คน ได้รับเชิญไปบรรยายเรื่อง Digital Marketing ทั้งทางภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ มีหนังสือขายดีทุกเล่ม และ Facebook อเมริกาเข้ามาพูดคุยถึงเรื่องพฤติกรรมการใช้งาน Facebook ของคนไทย และยังทำโรงงานผลิตครีมของตัวเอง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็น TikTok Ambassador ผู้เชี่ยวชาญของ Lazada คนแรกของไทย และเป็น Shopee Guru ด้วย เขียนหนังสือขายดีถึง 8 เล่ม ทำรายการทีวีทางช่อง 3 5 และ 7 ในวันนี้จะมาอัพเดทเทรนด์เทคโนโลยีต่าง ๆ ให้ทุกคนได้ฟังกันค่ะ
เทรนด์อะไรที่น่าสนใจและต้องปรับตัวยังไงให้เข้ากับยุคที่เปลี่ยนไป เราทุกคนต่างก็ได้ยินคำว่า “Digital Disruption”กันมานานแล้ว แต่หลายคนก็รั้งรอไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เพราะธุรกิจยังสามารถไปต่อได้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีการสร้างช่องทางออนไลน์ขึ้นแต่ก็ไม่ได้ใช้งานเท่าที่ควร เพราะกลัวว่าหากใช้ Features ต่าง ๆ แล้วจะเสียเงินมากขึ้น แต่เมื่อเจอกับ Covid Disruption ทุกคนปรับตัวรวดเร็วมาก เพราะโควิดเป็นตัวเร่งที่เข้ามาทำให้เราเลิกรั้งรอเพื่อให้เรามีชีวิตรอด แน่นอนว่าหลายคนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป หรือมีทักษะต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น การทำอาหาร การทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น นักการตลาดจึงได้ใช้คำแสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปว่า New Normal แต่ในปัจจุบันเราต้องรู้จักNow Normal และ Next Normal ด้วยว่าอะไรจะเกิดขึ้นอีก เพราะว่าโลกและผู้บริโภคเกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก
ในทุกครั้งที่เกิดวิกฤตเราจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง 3 แบบ ดังนี้
เทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นน่าสนใจมาก เป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลที่พูดถึง Lazy Consumer หรือตลาดคนขี้เกียจนั่นเอง มนุษย์เราขี้เกียจมากขึ้นเพราะมีเทคโนโลยีอยู่รอบตัว สิ่งที่ควรทำในฐานะผู้ประกอบการ คือ กลยุทธ์ที่ชื่อว่า SLOTH
S = Speed ธุรกิจของเราต้องบริการรวดเร็ว ไม่เสียเวลา
L = Lean การลด ลัด ตัด ย่อ อะไรที่เยิ่นเย้อหรือมีขั้นตอนมากให้ตัดออกทำให้ประชับมากยิ่งขึ้น
O = Enjoy สามารถส่งมอบความสนุกสนานให้กับลูกค้าได้
T = Convenient สะดวกสบาย
H = Happy ส่งมอบความสุข
ซึ่งความสุข สนุกสนาน หรือความสะดวกสบายจะต้องเกิดขึ้นกับตัวเราก่อนจึงจะส่งต่อออกไปได้ เมื่อทราบแล้วให้ลองดูธุรกิจตัวเอง แล้วหากขาดอะไรให้ลองไปเพิ่มเติมดูค่ะ
สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยหลังยุคโควิดที่ควรจะมีคือ
การนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ในบริษัทอาจเกิดการต่อต้านจากพนักงาน เนื่องจากหลายคนคุ้นชินกับกิจวัตรและวิธีการทำงานแบบเดิม ๆ แล้ว จึงไม่ต้องการเปลี่ยนหรือเรียนรู้ใหม่ ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นจะช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น แต่ในช่วงแรกจะต้องปรับตัวเยอะมาก ทำให้เกิดการต่อต้าน อยากจะบอกว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น AI ไม่ใช่ศัตรูแต่เป็นเพื่อนที่จะช่วยเราผ่อนแรงในการทำงาน เราจึงต้องเรียนรู้การอยู่ร่วมกับเทคโนโลยี วันก่อนเพิ่งจะให้สัมภาษณ์ไปเรื่องปัญหาที่จะเกิดขึ้นของโลกเทคโนโลยีคืออะไร คำตอบคือความเหลื่อมล้ำทางสังคมจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน สังคมจะถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มอย่างชัดเจนโดยที่ไม่มีคนชั้นกลาง ซึ่งกลุ่มหนึ่งคือผู้ที่สามารถใช้เครื่องมือและทันเทคโนโลยี กับอีกกลุ่มคือผู้ที่ต่อต้านเทคโนโลยี ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
เครื่องมือที่น่าสนใจในการทำงานแบบ WFH ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานของเราได้ มีดังนี้
ต่อมาเป็นเรื่องเทรนด์ดาต้า จากสถิติของ VRSocial ที่เก็บข้อมูลจากทั่วโลกในทุก ๆ ต้นปีในเรื่องของสถิติออนไลน์ต่าง ๆ
ผู้สนใจสามารถเข้าชม VDO บรรยายตัวเต็มจากคุณจิตติพงศ์ได้ใน Community Zone ของงาน ICHI หรือ คลิกที่นี่ เพื่อเข้าสู่ Community Zone ทันที
SHOW CASE
RELATED ARTICLES
MedTech เป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน นักวิจัยและผู้ประกอบการหลายรายต่างเริ่มเข้ามาสู่ตลาดเทคโนโลยีทางการแพทย์มากขึ้น สิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงมากที่สุด คือ เรื่องของประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้งาน รวมทั้งการคำนึงถึงกฎระเบียบในการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาดด้วยเช่นกัน
03.08.2022
บทความนี้เขียนจากการสัมภาษณ์ นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มุ่งถ่ายทอดจุดเน้น เจตนารมณ์ ตลอดจนหลักคิดของกฎหมาย เพื่อสร้างความเข้าใจ และคลายความกังวลให้แก่องค์กรธุรกิจ โดยคาดหวังว่า หลังจากกฎหมายบังคับใช้จะสร้างสมดุลด้านการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในสังคมไทย หากทุกฝ่ายเกิดความตระหนักและเข้าใจตรงกัน นั่นคือ ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
01.04.2022
1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในมาตราที่เลื่อนการบังคับใช้ออกมา 2 ปี จะเริ่มมีผล แม้จะเหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่เดือน แต่ก็สามารถเร่งดำเนินการให้องค์กรปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ได้ไม่ยาก โดย นายกำพล ศรธนะรัตน์ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Protection Officer (DPO) และที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และประธานชมรม DPO ได้ให้หลักการ แนวทาง ตลอดจนขั้นตอนการปฏิบัติ ไว้ในที่นี้
20.04.2022