MarTech
Marketing
Innovation
Digital
22.12.2021
Marketing will change your company after COVID-19 disaster (Part-2)
Digital Marketing คืออะไร หลายคนยังไม่สามารถแยกความต่างของ Online Marketing และDigital Marketing ได้ว่าแตกต่างกันอย่างไร ก่อนอื่นขอพูดถึงเรื่อง Marketing ก่อน Marketing คือ การทำการตลาด ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ ยุคเก่า (Traditional Marketing) โดยใช้การประชาสัมพันธ์ให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มลูกค้าและผู้บริโภคผ่านสื่อต่าง ๆ ที่ไม่ใช่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และยุคใหม่ (Digital Marketing) คือการที่แบรนด์เข้าถึงกลุ่มลูกค้าและผู้บริโภคผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับคำว่าOnline Markeintg จะเห็นได้ว่า Online Marketing นั้นเป็นส่วนหนึ่งของDigital Marketing แต่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อด้วย เช่น การเข้าเว็บไซต์ การส่งอีเมล ขายของทาง social media เป็นต้น
ต่อไปคือ Digital Transformation ว่าในปัจจุบันมีการดำเนินการอย่างไร ต้องบอกเลยว่าตอนนี้การใช้สมาร์ทโฟนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ โดยมีการใช้งานดังต่อไปนี้ เล่นโซเชียล ค้นหาข้อมูล อ่านข่าว และดูทีวี เมื่อดู 2 อันดับแรกจะเห็นว่ามีการใช้เล่นโซเชียลและการค้นหาเยอะ เราจึงจะนำมาทำการตลาดเชิงรุกเชิงรับ อันดับแรกขอพูดถึงการตลาดเชิงรับก่อน ก็คือการใช้เครื่องมือ google ในการดักคีย์เวิร์ดว่าผู้บริโภคกำลังค้นหาอะไร แล้วทำอย่างไรถึงจะหาเราพบ ซึ่ง google มีเครื่องมือตัวหนึ่งที่ชื่อว่า google trend เราสามารถดูเทรนด์การค้นคีย์เวิร์ดคำต่าง ๆ ได้ และก็สามารถนำมาวางไว้ในแพลตฟอร์มของเราได้ทุกช่องทางเพื่อให้ค้นหาแล้วเจอเรา เหล่านี้เรียกว่าการตลาดเชิงรับ ต่อไปคือการตลาดเชิงรุก คือ การจะขอยิงโฆษณา บรอดแคสต์เข้าไปยังผู้บริโภค จะขอยกตัวอย่าง Facebook เลยนะคะ ที่เราติด Facebook เขารู้จักเราเป็นอย่างดีจึงแสดงสิ่งที่เราสนใจบนหน้ากระดานข่าวของเรา
ซึ่ง Facebook นั้นจะมีประเภทดังนี้ คือ โพรไฟล์(ส่วนตัว) แฟนเพจ กลุ่ม โดยเหล่านี้สามารถใช้ทำธุรกิจส่วนตัวได้ ดังนี้
หัวใจหลักที่จะทำ Facebook ให้สำเร็จคือการทำคอนเทนต์ที่น่าสนใจ ซื้อโฆษณาให้เข้าถึงคนจำนวนมาก ต่อจาก Facebook คือ Line Official Account ซึ่งมีเสน่ห์มาก ๆ เพราะปัจจุบันนอกเหนือจากไลน์ส่วนตัวแล้วก็ยังมีสำหรับธุรกิจเช่นกัน เสน่ห์ของเค้าคือสามารถสื่อสารได้แบบ one to multiple และ one on one แชท มีแอดมินได้หลายคน ดูสถิติหลังบ้านได้ มี feature สนับสนุนทางการตลาด และเป็นรูปแบบฟรีเมี่ยม (ให้ใช้ฟรีแต่ถ้าอยากใช้ฟีเจอร์ที่พรีเมี่ยมค่อยจ่ายเงิน) และที่สำคัญมากคือ เค้ามี business ecosystem หรือมีวงจรการทำธุรกิจ เนื่องจากจำนวนผู้ใช้งานไลน์ในไทยมีถึง 50 ล้านคน ทำให้มีการสร้างการตระหนักรู้ของแบรนด์ผ่านทางแพลตฟอร์มไลน์ สื่อสารกันผ่านทางการบรอดแคสต์และการพูดคุย และปิดการขายที่ MyShop (ระบบร้านค้าออนไลน์) ซึ่งวันนี้การซื้อโฆษณาบนไลน์ก็จะแสดงผลในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น แชทลิสต์ ทามไลน์ ไลน์ทูเดย์ ไลน์ทีวี วอลเล็ตแทป และล่าสุดคือโอเพ่นแชท
YouTube ไม่พูดไม่ได้เลยเพราะมาเป็นอันดับหนึ่งของไทย โดยมีผู้ใช้งานที่อายุมากกว่า 18 ปี ถึง 37 ล้านคน หรือคิดเป็น 54% ของประชากรในประเทศไทย ล่าสุด YouTube ได้ออกยูทูปชอตส์ ซึ่งมีลักษณะคล้าย TikTok คือเป็นวิดีโอแนวตั้งที่มีความยาวไม่เกิน 60 วินาที คิดว่าเพราะเค้ารู้ว่าเทรนด์ของคอนเทนต์รูปแบบนี้กำลังได้รับความนิยม เพราะ TikTok มีการเติบโตสูงมาก โดยมียอดดาวน์โหลดแซงหน้าFacebook ไปแล้ว ปัจจุบันมีเฟสบุ๊ครีลส์ที่กำลังทดลองใช้ที่อเมริกา อีกไม่นานคนไทยน่าจะได้ใช้กัน ก็คล้ายกับ TikTok คือเป็นวิดีโอสั้นๆในแนวตั้ง
Instagram เป็นกลุ่มเฉพาะมากเลย โดยมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่อายุ 13-34 ปี เพราะกลุ่มนี้มีกำลังซื้อมากกว่าแพลตฟอร์มอื่น พร้อมจ่ายหากสินค้าถูกใจ และชอบในคอนเทนต์ที่เป็นรูปภาพวิดีโอ เพื่อผ่อนคลาย ส่วนสินค้าที่ขายได้จะเป็นพวกแฟชั่น ความงาม ดีไซน์
ท้ายสุด อยากจะพูดถึงคุณ Alvin Toffler ซึ่งเป็นนักเขียนได้กล่าวไว้ว่า “คนเราต้องรู้จัก Learn Unlearn และ Relearn ซึ่งแต่ละคำมีความหมาย ดังนี้
อย่าลืมนะคะว่าโลกปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาเราจึงต้องมีการเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ คุณอัลวินเคยบอกว่า “คนไร้การศึกษาของศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่คนอ่านไม่ได้เขียนไม่ออก แต่เป็นคนที่ไม่สามารถจะเรียนรู้แล้วลบสิ่งที่เรียนรู้มาเพื่อเรียนรู้ใหม่นั่นเอง” ท้ายสุดแล้วก็อยากจะบอกว่า 100 คนรู้ 10 คนทำ 1 คนสำเร็จ วันนี้ทุกคนรู้เท่า ๆ กัน แต่จะมีแค่ 10% เท่านั้นที่นำสิ่งที่รู้ไปลงมือทำ และมีเพียง 1%เ ท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ
SHOW CASE
RELATED ARTICLES
MedTech เป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน นักวิจัยและผู้ประกอบการหลายรายต่างเริ่มเข้ามาสู่ตลาดเทคโนโลยีทางการแพทย์มากขึ้น สิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงมากที่สุด คือ เรื่องของประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้งาน รวมทั้งการคำนึงถึงกฎระเบียบในการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาดด้วยเช่นกัน
03.08.2022
บทความนี้เขียนจากการสัมภาษณ์ นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มุ่งถ่ายทอดจุดเน้น เจตนารมณ์ ตลอดจนหลักคิดของกฎหมาย เพื่อสร้างความเข้าใจ และคลายความกังวลให้แก่องค์กรธุรกิจ โดยคาดหวังว่า หลังจากกฎหมายบังคับใช้จะสร้างสมดุลด้านการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในสังคมไทย หากทุกฝ่ายเกิดความตระหนักและเข้าใจตรงกัน นั่นคือ ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
01.04.2022
1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในมาตราที่เลื่อนการบังคับใช้ออกมา 2 ปี จะเริ่มมีผล แม้จะเหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่เดือน แต่ก็สามารถเร่งดำเนินการให้องค์กรปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ได้ไม่ยาก โดย นายกำพล ศรธนะรัตน์ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Protection Officer (DPO) และที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และประธานชมรม DPO ได้ให้หลักการ แนวทาง ตลอดจนขั้นตอนการปฏิบัติ ไว้ในที่นี้
20.04.2022